การทำงานบนที่สูงมีหลักเกณฑ์ที่ลูกจ้างกับนายจ้างต้องปฏิบัติการทำงานอย่างระมัดระวังก่อนดำเนินการก่อสร้างทุกครั้ง ทั้งการจัดเตรียมอุปกรณ์ แผนการช่วยเหลือ รวมไปถึงการอบรมผู้ที่ทำงานในพื้นที่ให้ปฏิบัติตามกฏการทำงานบนพื้นที่สูงได้อย่างปลอดภัย แล้วการทำงานบนที่สูงหมายถึงลักษณะอาคารแบบไหน? หลักการทำงานบนที่สูงมีอะไรบ้าง? บริษัทซานโต ไฟร์ จึงมาให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติการก่อสร้างไว้ที่นี่
การทำงานบนที่สูงคืออะไร
การปฏิบัติงานบนที่สูง (Working at height) คือ การทำงานบนที่สูงในบริเวณสิ่งปลูกสร้างในอาคารที่มีความสูง 2 เมตรเป็นต้นไป สำหรับการดำเนินการก่อสร้าง การติดตั้ง และการทำความสะอาดในพื้นที่สูง
ก่อนที่ลูกจ้างกำลังปฏิบัติงานบนที่สูง นายจ้างต้องมีข้อบังคับอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การจัดเตรียมอุปกรณ์เซฟตี้พร้อมใช้งานแก่ลูกจ้างเสมอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างอุบัติเหตุพลัดตกในขณะทำงานบนที่สูง รวมถึงตัวลูกจ้างสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยกันพลัดตกได้ด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องก่อนหน่วยกู้ภัยจะมาถึง
ข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงตามกฎหมายมีดังนี้
ข้อกำหนดทั่วไปของการทำงานบนที่สูง นายจ้างต้องปฎิบัติดูแลความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง ดังนี้
- นายจ้างต้องเปิดคอร์สอบรมการใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในขณะทำงานในที่สูงกับลูกจ้างทุกคนที่ต้องดำเนินงาน โดยจัดเตรียมวิทยากรสอนการใช้เครื่องมือ จะต้องเป็นวิศวกรที่มีใบอนุญาตดำเนินการอบรม
- นายจ้างต้องมีแบบ Manual แนวทางการทำงานบนที่สูง หากไม่มี สามารถให้นักวิศวกรจัดทำหนังสือการสอนได้ โดยเนื้อหาภายในต้องประกอบด้วย การติดตั้ง รวมไปถึงการใช้เครื่องมือนิรภัยเช่น การใช้งานอุปกรณ์PPE ทั้งหมด ในขณะการทำงานบนที่สูง ดูว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างได้ที่บทความ อุปกรณ์ PPE คืออะไร มีอะไรบ้าง
- การทำงานในภาคปฏิบัติ นายจ้างต้องจัดเตรียมอุปกรณ์เตรียมความปลอดภัยในการทํางานบนที่สูง และพร้อมใช้งาน 100% ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็คหมวกเซฟตี้ และเครื่องมือชนิดอื่นๆ
- การทำงานบนที่สูง 2 เมตรเป็นต้นไป บังคับให้ลูกจ้างติดตั้งรั้วกันตก และการติดตั้งนั่งร้าน
- กรณีทำงานบนที่สูงเกิน 4 เมตรเป็นต้นไป บังคับติดตั้งตาข่ายนิรภัย รวมถึงลูกจ้างต้องเช็คอุปกรณ์เซฟตี้ตลอดการดำเนินงาน
- การก่อสร้างบนอาคารที่มีความลาดชันเกิน 15 องศา ลูกจ้างต้องติดตั้งที่นั่งร้านขณะในการทำงานบนที่สูง
- รั้วกั้นที่มีความสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร และปล่องที่มีรูเปิด ต้องนำฝาปิดให้มิดชิด
- อุปกรณ์ทุกประเภทในขณะทำงานบนที่สูง เช่น เข็มขัดนิรภัย ต้องมีเชือกผูกติดกับตัวผู้ดำเนินงานทุกคน เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือหล่นลงสูงพื้น
- การใช้บันไดแบบเคลื่อนย้าย จะต้องหันมุมตรงข้ามกับผนังที่พิง 75 องศา
- กรณีลูกจ้างทำงานบนรถเครน จะต้องมีแผ่นเหล็กประกบรองขาช้าง
- ลูกจ้างที่ขับอุปกรณ์เคลื่อนย้าย จะต้องผ่านใบอนุญาตขับขี่ และได้รับการอบรมการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
- ลูกจ้างทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎการทำงานบนที่สูงทุกคน
กฎพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนการทำงานบนที่สูง
กฎการดำเนินบนพื้นที่สูงที่ผู้ดำเนินงานต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีดังนี้
- ลูกจ้างต้องผ่านหลักสูตรอบรมการทํางานบนที่สูงอย่างปลอดภัยหมดทุกคน
- ทุกคนต้องบังคับสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ในขณะทำงานบนที่สูง
- สวมใส่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเฉพาะในการทำงาน เช่น ใส่หน้ากากกันฝุ่นเพื่อป้องกันไอควันจากการวัสดุก่อสร้าง
- ก่อนลูกจ้างจะดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่สูง ควรหาจุดยืนที่แข็งแรงก่อนปฎิบัติงานทุกครั้ง
- นายจ้างต้องเตรียมแผนการช่วยเหลือ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุขณะการก่อสร้างแก่ลูกจ้างได้
กฎการขึ้นที่สูงโดยทั่วไป
กฎหมายการทำงานบนที่สูงที่ทุกคนในพื้นที่ต้องให้ความร่วมมือกันการใช้บันได 5 ข้อปฏิบัติ ดังนี้
- บันไดที่ใช้ในการปีนขึ้นไปจะต้องถูกยึดเหนี่ยวแน่น ไม่โยกในขณะการปีนขึ้นไป
- สวมใส่ถุงมือเซฟตี้ และรองเท้าเซฟตี้ขณะขึ้นบันไดทุกครั้ง
- ลูกจ้างทุกคนที่ใช้บันไดร่วมกัน ต้องบังคับการขึ้นและลงทีละคนเท่านั้น
- ในขณะลูกจ้างกำลังขึ้นบันได ให้จับราวบันไดทั้งสองข้างด้วยความเร็วปกติ
- ลูกจ้างที่กำลังขึ้นบันไดต้องไม่พบอุปกรณ์พกพาติดมือในขณะปีน หากจำเป็นต้องพกพาให้ใส่ในกระเป๋าติดตัว
กฎสำคัญในการทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย
7 กฎสำคัญที่ลูกจ้างดำเนินการทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย มีดังนี้
- ลูกจ้างที่ทำงานบนที่สูงจะต้องไม่ทำงานอยู่คนเดียว
- ลูกจ้างห้ามวิ่งหรือเคลื่อนไหวด้วยความเร็วบนอาคารเกิน 2 เมตรเป็นต้นไป
- ในขณะทำงานบนที่สูง ลูกจ้างทุกคนต้องยื่นของการทำงานผ่านมือเท่านั้น ห้ามโยน หรือปล่อยสิ่งของเด็ดขาด
- กรณีที่ปฏิบัติการตัด เชื่อม บนอาคารต้องตรวจสอบแหล่งเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างทุกครั้ง
- ช่วงการทำงานบนที่สูง ทางนายจ้างต้องทำเขตการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้คนภายนอกเข้ามาในอาณาเขต
- หากจำเป็นต้องยกแฮงเกอร์แขวนท่อเคลื่อนย้าย ควรทำการเคลื่อนที่ภายในเส้นทางบริเวณเขตก่อสร้างเท่านั้น
- ในกรณีที่ลูกจ้างยืนบนแผ่นกระเบื้อง และกระจก ควรวางน้ำหนักเท้าให้เบาที่สุด ห้ามเหยียบเต็มเท้าเด็ดขาด
อันตรายที่พบบ่อยในการทำงานบนที่สูงมีอะไรบ้าง
5 เหตุการณ์ที่ผู้ปฏิบัติเกิดอุบัติเหตุในขณะการทำงานบนที่สูง ได้แก่
- ผู้ปฏิบัติการทำงานบนที่สูงใช้อุปกรณ์เซฟตี้ไม่ถูกวิธีในขณะอยู่บนที่สูง ทำให้เกิดการพลัดตก หรือติดอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้
- อุปกรณ์เคลื่อนย้ายของลูกจ้างเกิดการชำรุด ไม่ได้ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือแลกเปลี่ยนเครื่องมือใหม่
- ผู้ปฏิบัติไม่ได้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมการทำงานบนที่สูงในพื้นที่บนอาคารละเอียด อาจเกิดเหตุบริเวณบางส่วนถล่ม หรือเกิดอัคคีภัย ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่สามารถเคลื่อนที่ไหวตัวทัน
- ผู้ทำงานบนที่สูง ดำเนินการก่อสร้างอาคารด้วยบุคคลคนเดียว เมื่อเกิดปัญหา ไม่สามารถเรียกร้องขอความช่วยเหลือคนร่วมงานรอบๆ ได้
- ผู้ปฏิบัติการทำงานบนที่สูงตั้งแต่ 2 คนเป็นต้นไปทำการยื่นอุปกรณ์ด้วยการโยนแทนยื่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่สิ่งของอาจร่วงหล่น หรือกระทบกระเทือนยานพาหนะเพื่อนร่วมงานให้ชำรุด
หลักการป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง
หลักการป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูงของผู้ปฏิบัติงานและภายในสถานที่ก่อสร้างมีดังนี้
ป้องกันตัวผู้ปฏิบัติงาน
ตัวผู้ปฏิบัติงานต้องเช็คอุปกรณ์เซฟตี้ก่อนการทำงานบนที่สูงทุกครั้ง หากเครื่องมือส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดการขำรุด ให้รีบเปลี่ยนอุปกรณ์ทันที และต้องปฏิบัติตามกฎหมายทํางานบนที่สูงอย่างเคร่งครัด
ป้องกันบริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน
พื้นที่การก่อสร้างในการทำงานบนที่สูง จะต้องเป็นพื้นที่ ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่เด็ดขาด โดยนายจ้างสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์อย่างเทปกั้นสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์แจ้งเตือนให้บุคคลอื่นรับรู้และหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้ามาในพื้นที่
ป้องกันอันตรายจากการร่วงหล่นของวัสดุในพื้นที่ปฏิบัติงาน
ในขณะที่ผู้ปฏิบัติและเพื่อนร่วมงานบนที่สูง จะต้องยื่นสิ่งของผ่านมือเท่านั้น จะไม่มีการโยน ทิ้ง และขว้างใส่กันเด็ดขาด เพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นใส่ศีรษะคนในพื้นที่ด้านล่าง และอุปกรณ์ที่กำลังก่อสร้าง
ป้องกันอันตรายจากการสะดุด หรือลื่นล้ม
หากผู้ปฏิบัติกำลังทำงานบนที่สูง ให้เคลื่อนไหวด้วยความเร็วปกติ ห้ามวิ่งและห้ามเดินเร็วเด็ดขาด เพื่อป้องกันสิ่งที่รองรับน้ำหนักสั่นสะเทือน
ป้องกันอันตรายจากการตก
ผู้ปฏิบัติต้องสวมใส่หมวกเซฟตี้ขณะการทำงานบนที่สูงทุกคน เพื่อป้องกันเศษซากจากการแต่งเติมอาคารที่ร่วงหล่นลงมา
มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ควรรู้
มาตรฐานอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจากการทำงานบนพื้นที่สูง ของ Santo Fire มีดังนี้
เข็มขัดนิรภัยเต็มตัว M-Safe รุ่น MS-717
เข็มขัดพร้อมตะขอภายในตัวแบบระบบล้อก 2 ชั้น หัวเข็มขัดเป็นแบบเลื่อนล้อก สายรัดสามารถรัดหน้าอก ต้นขา และ เอว ปรับเลื่อนได้ ด้านหลังมี 1 ดีลิ้งค์ ใช้สำหรับเกี่ยวตัว ปลอดภัยได้มาตรฐาน EN358/EN361/EN362
หลักการใช้งานอุปกรณ์ให้ปลอดภัย
การใช้ยานพาหนะเสริมในการทำงานบนที่สูง จะต้องมีความปลอดภัยดังนี้
หลักการใช้บันไดพาดอย่างปลอดภัย
ลักษณะทางกายภาพของบันไดต้องไม่ชำรุด พุพัง หรือเกิดการขึ้นสนิม ความยาวของบันไดพาดต้องไม่เกิน 5 เมตรและสามารถเคลื่อนย้ายด้วยบุคคลคนเดียวได้ วิธีการเคลื่อนย้ายให้ผู้ปฏิบัติพาดหัวไหล่ทางแนวนอนแล้วทำมุมแบก 75 องศา
หลักการใช้กระเช้าอย่างปลอดภัย
การใช้กระเช้าเคลื่อนย้ายผู้ปฎิบัติ จะต้องใช้งานในสภาพอากาศที่ปลอดโปร่ง ห้ามใช้กระเช้าสภาพภูมิอากาศที่มีลมกรรโชก และไม่ควรใช้กระเช้าบนบริเวณพื้นที่ที่เป็นทางลาดชัน
หลักการใช้เครนอย่างปลอดภัย
เลือกใช้แผนผังน้ำหนักบรรทุกที่ถูกต้องในการกำหนดการตั้งค่าน้ำหนักบรรทุกและเส้นทางยกให้เหมาะสม ส่วนผู้ปฏิบัติต้องรักษาระยะเหนือศีรษะระหว่างสายไฟฟ้า ให้ห่างออก 10 ฟุต
การตรวจสอบและดูแลรักษาอุปกรณ์กันตก
ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะเริ่มการทำงานบนที่สูง ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานบนที่สูงให้เรียบร้อยก่อนดำเนินงานเสมอ โดยการตรวจเช็คสามารถเข้าหลักสูตรการทํางานบนที่สูง จากวิศวกรให้ชำนาญก่อนเข้าพื้นที่
การทำงานบนที่สูงทุกครั้ง ลูกจ้างทุกคนควรได้รับการสวมใส่อุปกรณ์ที่มีสภาพการทำงานที่ดี รวมถึงการใช้ยานพาหนะที่แข็งแรงในขณะการดำเนินทุกครั้ง หากใครที่กำลังตามหาอุปกรณ์สำหรับการทำงานบนที่สูงเครื่องมือสวมใส่อย่าง ถุงมือเซฟตี้ กับ รองเท้าเซฟตี้ การันตีการใช้งานที่ทนทาน มีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานในระยะยาว สามารถปรึกษาหรือซื้อสินค้าติดต่อกับซานโต ไฟร์ ได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560 , 02-248-3087