อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) คืออะไร
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ หรือที่หลายคนเรียกทับศัพท์ว่า Smoke Detector (สโมคดีเทคเตอร์) หรือ Smoke Sensor คือ อุปกรณ์ป้องกันเหตุเพลิงไหม้ โดย Smoke Detector สามารถตรวจจับอนุภาคควันไฟได้ โดยที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ สิ่งแรกที่ลอยขึ้นไปบนอากาศจะเป็นควัน จึงทำให้ Smoke Detector ทำงานส่งสัญญาณเตือนภัย (Signaling Equipment) ไม่ว่าจะเป็น เสียง และ แสง ซึ่งช่วยให้คนที่อยู่บริเวณรอบข้างปลอดภัย และอพยพหนีไฟได้ทันท่วงที
นอกจากนี้การที่ติดตั้ง Smoke Detector ตามอาคารจะช่วยให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้วสามารถดับไฟได้ทันที ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามไปยังบริเวณอื่น พร้อมทั้งช่วยลดความเสียหายของทั้งชีวิตและทรัพย์สินลงได้
บางคนอาจจะเกิดความสับสนระหว่าง Smoke Detector กับ Heat Detector โดยที่อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในหมวกระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Alarm System) แต่อุปกรณ์ทั้งสองชนิดมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน โดย Smoke Detector เป็นการตรวจจับอนุภาคควันไฟ แต่ Heat Detector เป็นการตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Alarm System) คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง
smoke detector ทั้ง 2 ชนิด แบ่งตามลักษณะการตรวจจับ
ก่อนที่จะตัดสินใจว่าตนเองควรใช้ Smoke Detector แบบไหน แนะนำให้ศึกษาข้อมูลของ Smoke Detector ให้ดีก่อน เพื่อความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งชนิดของ Smoke Detector ออกเป็น 2 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้
1. Ionization Smoke Detector
Smoke Detector แบบ Ionization ประกอบไปด้วยแผ่นชาร์จประจุ และสารแผ่รังสี โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ Americium 241 โดยการทำงานของ lonization smoke detector จะทำงานด้วยการวัดค่าหรือตรวจจับโมเลกุลในอากาศด้วยแผ่นชาร์จประจุ
เมื่อมีการเผาไหม้เกิดขึ้นความชื้นและความกดดันในอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ lonization smoke detector สามารถตรวจจับได้ ทั้งนี้ smoke detector แบบ lonization เมื่ออยู่ในบริเวณที่ฝุ่น และความชื้นมากเกินอาจจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันทำงานผิดพลาดได้
ทั้งนี้ยิ่ง Smoke Detector มีความไวในการตรวจจับมากเท่าไหร่ อาจจะยิ่งทำให้ส่งสัญญาณเตือนภัยผิดพลาดได้มากขึ้น
2.Photoelectric Smoke Detector
สำหรับหลักการทำงานของ Smoke Detector แบบ Photoelectric คือ การกระจายแสงสะท้อน หรือ การบังแสง โดยที่ภายใน Smoke Detector แบบ Photoelectric จะมีหลอดไฟ LED ที่ส่องไปยังอุปกรณ์ไวแสง (Photosensitive Element)
เมื่อมีการเผาเพลิงเกิดขึ้น และควันลอยขึ้นไปในอากาศเข้าไปใน Smoke Detector ทำให้ควันเข้าไปบังแสงที่ส่องไปยังวัตถุไวแสงในตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน เมื่อความเข้มข้นของแสงลดลงจนถึงจุดที่กำหนดไว้ Smoke Detector จะส่งสัญญาณเตือนภัยทันที
โดย Smoke Detector ในปัจจุบันที่กำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด ได้แก่ Smoke Detector แบบ Photoelectric ยี่ห้อ CEMEN เนื่องจากคุณภาพดีและมีให้เลือกหลายแบบตามความเหมาะสมในการใช้งาน เช่นรุ่น s314 และ s315 ที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น
การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
สำหรับผู้ที่ติดตั้ง Smoke Detector ไปแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปสักประมาณ 1 – 2 ปี แนะนำให้ทำการทดสอบ Smoke Detector ว่ายังสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันของคุณเสื่อมสภาพ หรือ ใช้งานไม่ได้แล้ว เช่น ลม ฝุ่นละออง ความชื้น และความร้อน
โดยการตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) สามารถปฏิบัติตาม ได้ดังนี้
- ตรวจสอบลักษณะภายนอกของอุปกรณ์ โดยดูว่าชิ้นส่วนสำคัญของ Smoke Detector ยังอยู่ครบหรือไม่ เช่น หลอดไฟแสดงผล และอุปกรณ์ต่อสัญญาณกับวงจรสัญญาณ
- ตรวจสอบว่ามีฝุ่นละอองสะสมในอุปกรณ์หรือไม่ เพราะการที่มีฝุ่นละอองสะสมอยู่ในอุปกรณ์จะทำให้ Smoke Detector ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
- ทำความสะอาดตาข่ายป้องกันแมลง พร้อมทั้งเช็คสภาพว่าตาข่ายยังสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่
- ชิ้นส่วนโลหะต้องไม่มีร่องรอยการผุกร่อน
- ตรวจสอบความมั่นคงของอุปกรณ์ น็อตทุกตัวต้องไม่หลุดหลวมและอยู่ในภาพใช้งานได้ปกติ
ตัวอย่างสินค้า smoke detector
การทดสอบระบบการทำงานของ Smoke Detector
หลังจากที่ตรวจสอบลักษณะภายนอกและชิ้นส่วนสำคัญของ Smoke Detector ไปกันแล้ว อย่าลืมที่จะทดสอบระบบการทำงานของ Smoke Detector ว่าอุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ โดยวิธีการทดสอบระบบการทำงานของ Smoke Detector แบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ดังนี้
ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์
สำหรับการทดสอบการทำงานของ Smoke Detector ต้องอิงตามเกณฑ์การใช้งานที่ได้ออกแบบเอาไว้ ทั้งค่าความไวของการตรวจจับและการป้อนแรงดันไฟฟ้า โดยการทดสอบสามารถทำได้ด้วยการปล่อยควันเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควันของคุณ แนะนำให้ใช้เป็นควันจากเชือกหรือไส้ตะเกียง เนื่องจากเมื่อติดไฟแล้วจะมีปริมาณควันได้เกินระดับที่กำหนดเอาไว้ และหลังจากที่ควันเข้าไปตามปริมาณที่กำหนดไว้แล้ว Smoke Detector ต้องส่งสัญญาณเตือนไม่น้อยกว่า 4 นาที
นอกจากนี้แนะนำให้ตรวจสอบระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งสำรอง ด้วยการตัดไฟจากแหล่งจ่ายไฟหลักเพื่อดูว่าระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าแหล่งสำรองสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่
ทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่
ส่วนใหญ่ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ Smoke Detector จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี โดยสามารถประเมินความสามารถของแบตเตอรี่ ได้ดังนี้
- เมื่อชิ้นส่วนสายไฟฟ้าเชื่อมต่อเกิดการหลุดหรือหลวมจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่ส่งผลกระทบต่อ Smoke Detector ตัวอุปกรณ์จะต้องส่งสัญญาณเตือนว่าระบบขัดข้อง โดยไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อนาที และจะแสดงติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน
- เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักไม่สามารถส่งกระแสไฟได้เกิน 4 นาที Smoke Detector จำเป็นต้องส่งสัญญาณเตือนว่าระบบขัดข้อง
- ทุกครั้งที่มีการทดสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ หรือ ระบบการทำงานของ Smoke Detector อย่างลืมที่จะจดบันทึกและระบุวันที่กำกับไว้
ทดสอบการตรวจจับควัน
สำหรับการทดสอบการตรวจจับควันของ Smoke Detector จำเป็นต้องอ้างอิงเกณฑ์ตามที่ความสามารถของอุปกรณ์ Smoke Detector ไม่ว่าจะเป็น ค่าการตรวจจับสูงสุดและต่ำสุดภายใต้ความเร็วลม ทิศทางของควันไฟ โดยมีวิธีการทดสอบตรวจจับควัน ดังนี้
- การทดสอบการตรวจจับควันของ Smoke Detector จำเป็นต้องทำการทดสอบภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์ที่ 30 – 70% อุณหภูมิระหว่าง 20 – 26 องศาเซลเซียส และความดันอากาศ 93.3 กิโลปาสคาล
- การทดสอบการตรวจจับควัน ต้องทำการป้อนควันแบบต่อเนื่องเข้าไปใน Smoke Detector จนกว่าอุปกรณ์จะส่งสัญญาณเตือน และหลังจากทำการทดสอบการตรวจจับควันเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องระบายอากาศให้อุปกรณ์กลับไปแสดงสถานะปกติ โดยต้องมีการไหลของอากาศอยู่ในระดับเสถียรไม่น้อยกว่า 30 วินาที ก่อนทำการทดสอบอีกครั้ง
การทดสอบการตรวจจับควันของ Smoke Detector ในห้องทดสอบจำเป็นต้องปรับค่าไว้ให้ต่ำที่สุด โดยที่ค่าการตรวจจับของ Smoke Detector แต่ละตัวจะไม่เท่ากัน แนะนำให้ตั้งค่าตามเกณฑ์ของอุปกรณ์ของคุณ
การเลือกใช้ smoke detector ให้เหมาะสม
สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้ง Smoke Detector อาจจะเกิดความสงสัยว่าควรติดอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดใด ทั้งนี้จำเป็นต้องพิจารณ์จากการใช้งาน สถานที่ และต้นเหตุที่อาจจะทำให้ก่อเพลิงไหม้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- Smoke Detector แบบ Ionization จะเหมาะกับการตรวจจับควันที่เกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว และมีอณูขนาดเล็กประมาณ 0.01 – 0.3 ไมคอน (Micron)
- Smoke Detector แบบ Photoelectric จะเหมาะกับการตรวจจับควันที่เกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ โดยมีอนูขนาดที่ 0.3 – 0.10 ไมคอน (Micron)
ทั้งนี้ Smoke Detector ทั้งสองชนิดสามารถตรวจจับควันได้เหมือนกัน จะแตกต่างกันที่เวลาในการตอบสนอง และเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่า Smoke Detector แบบไหนเหมาะกับตึก อาคาร หรือโรงงาน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเร็วในการเผาไหม้ เช่น การเผาไหม้ที่เกิดจากการทิ้งก้นบุหรี่ลงโซฟา หรือ เตียงนอน จะทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างช้าๆ แต่การทิ้งก้นบุหรี่เช่นเดียวกันลงที่กระดาษจะทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างรวดเร็ว
แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้ง Smoke Detector ให้ปรึกษาร้านค้าหรือผู้เชี่ยวชาญว่าควรสถานที่ที่คุณจะติดตั้ง Smoke Detector ควรติดตั้งแบบใดจึงจะเหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด สุดท้ายนี้หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector หรือ อุปกรณ์เซฟตี้อื่นๆ ที่สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากเพลิงไหม้ สามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ที่ Santo Fire.co.th
เราเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เซฟตี้ทุกประเภท และรับติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ประตูหนีไฟ รวมไปถึงระบบ Fire Alarm ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ในราคาพิเศษ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560, 02-248-3087 เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้าทุกชิ้น
smoke detector แบบไหน หรือ PF ยี่ไหนที่สามารถ แจ้งระดับความสกปรกของ sensor (dirty) บ้างครับ