อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) คืออะไร
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน หรือ Heat Detector ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในหมวกหมู่สินค้าในหมวกระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire alarm sysrem) โดยที่ Heat Detector คือ อุปกรณ์ที่ทำงานตรวจจับความร้อน ภายในตัวเครื่องจะมีระบบที่สามารถจับอุณหภูมิความร้อนจากเปลวได้ ซึ่งหลายคนอาจจะสับสนระหว่าง Heat Detector กับ Smoke Detector ว่าเป็นอุปกรณ์เดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว อุปกรณ์ทั้งสองตัวมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน
เนื่องจาก Smoke Detector จะเป็นการตรวจจับควันไฟ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนิยมติดภายในบริเวณห้องเก็บสารเคมี แต่ Heat Detector เป็นการตรวจวัดอุณหภูมิที่สูงขึ้น แม้ว่าจะมีควันน้อยก็ตาม โดยในปัจจุบันประเทศไทยมี Heat Detector หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในสถานที่ และในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อความปลอดภัยสูงอยู่ของชีวิตและทรัพย์สิน
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
heat detector ทั้ง 4 ชนิด แบ่งตามลักษณะการตรวจจับ
ปัจจุบันสามารถแบ่งอุปกรณ์จับความร้อน Heat Detector ออกเป็น 4 ชนิด โดยแบ่งตามการลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ Heat Detector จำเป็นที่จะต้องรู้รายละเอียดและลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแต่ละชนิด เพื่อที่จะสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ตรวจจับความร้อนได้อย่างเหมาะสมกับสถานที่และคุ้มค่ามากที่สุด โดย Heat Detector แต่ละชนิดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector)
Heat Detector ชนิดตรวจจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิอุปกรณ์จะทำงานเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศาเซลเซียส ภายในระยะเวลา 1 นาที โดยการทำงานของ Heat Detector ชนิดตรวจจับอัตราการเพิ่ม จะมีการทำงานต่อเมื่ออุณหภูมิความร้อนภายในบริเวณนั่นๆมีการเปลี่ยนแปลง
ทำให้ส่วนรับความร้อนของ HeatDetector ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนไปดันแผ่นไดอะแฟรมให้ไปดันขาคอนแทคแตะกัน ส่งผลให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Heat Detector ส่งสัญญาณเตือนไปยังตู้ควบคุมระบบแห้งเหตุเพลิงไฟ และส่งเสียงเตือนภัยออกมา
โดยอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ ที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่ ยี่ห้อ Cemen รุ่น S-302 สามารถตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 9 -15 องศาเซลเซียสภายใน 1 นาที
2.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector)
3.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector)
Heat Detector ชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่ เป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่จะส่งสัญญาณเตือนภัยเมื่ออุณหภูมิบริเวณรอบๆ สูงถึงที่กำหนดไว้ สามารถตั้งอุณหภูมิที่ต้องการให้ Heat Detector ทำงานได้ โดยสามารถตั้งได้ตั้งแต่ 60 – 150 องศาเซลเซียส
การทำงานของ Heat Detector ชนิดนี้ Sensor จะทำงานส่งสัญญาณเตือนภัยต่อเมื่ออุณหูมิถึงที่กำหนดไว้ โดยอาศัยการทำงานของโลหะ 2 ชนิด เมื่ออุณหภูมิถึงที่กำหนดไว้จะทำให้โลหะทั้งสองชนิดแนบติดกัน และเกิดการบิดตัวและโค้งงอไปอีกด้าน ทั้งนี้เมื่ออุณหภูมิลดลงกลับไปปกติโลหะทั้ง 2 ชนิด จะกลับสู่สภาพเดิม
โดยอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดอุณหภูมิคงที่ ที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่ ยี่ห้อ Cemen รุ่น S-318 สามารถตรวจจับอุณหภูมิภายในห้องที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส
Heat Detector แบบตรวจจับความร้อนชนิดรวม เป็นการนำเอาคุณสมบัติของ Heat Detector แบบตรวจจับอุณหภูมิคงที่ และ แบบตรวจอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น มาไว้ในอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนตัวเดียว ทำให้ Heat Detector ชนิดนี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นสามารถตรวจจับความอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
โดยอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม ที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่ ยี่ห้อ Cemen รุ่น S-320 สามารถตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปและควันได้ในตัวเดียว
4.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนที่เพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่ ตั้งไว้ (Rate Compensate Heat Detector)
Heat Detector ชนิดตรวจจับความร้อนที่เพิ่มขึ้น จนถึงจุดที่ตั้งไว้ ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดนี้จะทำงานเมื่ออุณหภูมิบริเวณที่ติดตั้งมีการเปลี่ยนแปลงถึงจุดที่ตั้งไว้ โดยข้อดีของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ สามารถตรวจจับอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้นของบริเวณรอบๆ จุดที่ติดตั้ง Heat Detector ที่ห่างออกไป ตามระยะทางที่กำหนดไว้ได้
หลักการทำงานของ heat detector 2 แบบ
หลังจากเข้าใจชนิดของ Heat Detector กันไปแล้ว อีกหนึ่งจากที่จำเป็นต้องทราบก่อนจะตัดสินใจซื้อ Heat Detector คือ หลักการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ หลักๆ ดังนี้
หลักการทำงานของ heat detector แบบ Mechanical
Heat Detector แบบ Mechanical เป็นระบของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ที่ใช้ในการตรวจจับเพลิงไหม้ภายในตัวตึกและอาคารต่างๆ โดยมีข้อดีและข้อจำกัด ดังต่อไปนี้
ข้อดีของ Heat Detector แบบ Mechanical
- Heat Detector แบบ Mechanical มีราคาถูกกว่า แบบ Electronic
- เหมาะสำหรับสถานที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนหลายจุด
- มีความสามารถตรวจจับความร้อนได้ดีเท่ากับแบบ Electronic
ข้อจำกัดของ Heat Detector แบบ Mechanical
- เมื่อติดตั้ง Heat Detector แล้วจะไม่สามารถทดสอบหรือรู้ได้ว่าอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
- เมื่อ Heat Detector ทำงานไปแล้วจะไม่สามารถส่งสัญญาณเตือนหรือตรวจจับความร้อนได้อีก เนื่องจากโลหะไม่คืนสภาพ
- Heat Detector แบบ Mechanical มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า อุปกรณ์แบบ Electronic ทุกชนิด
หลักการทำงานของ heat detector แบบ Electronic
Heat Detector แบบ Electronic เป็นระบของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ที่ใช้ในการตรวจจับเพลิงไหม้ภายในตัวตึกและอาคารต่างๆ โดยมีข้อดีและข้อจำกัด ดังต่อไปนี้
ข้อดีของ Heat Detector แบบ Electronic
- เมื่อติดตั้ง Heat Detector แล้วสามารถทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนพร้อมทำงาน หรือ สามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
- Heat Detector แบบ Electronic สามารถใช้งานซ้ำได้ เนื่องจากโลหะจะกลับสู่สภาพเดิมเมื่ออุณหภูมิลดลง
- Heat Detector แบบ Electronic มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า อุปกรณ์แบบ Mechanical ทุกชนิด
ข้อจำกัดของ Heat Detector แบบ Electronic
- มีราคาสูงกว่า แบบ Mechanical ทำให้ในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ Heat Detector แบบ Mechanical กันมากกว่า
การเลือกใช้ heat detector ให้เหมาะสม
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อ Heat Detector ทางซานโต ไฟร์ ได้สรุปชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนไว้ให้แล้ว ว่าแต่ละชนิดเหมาะกับสถานที่และการใช้งานแบบใด
- Heat Detector ชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่ เหมาะสำหรับห้อที่มีฝุ่นละอองมากๆ หรือบริเวณที่อาจจะเกิดควันไฟได้ ได้แก่ ห้องพระ ห้องเก็บของ บริเวณที่มีความร้อนมาก และบริเวณที่มีเครื่องจักร
- Heat Detector ชนิดตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เหมาะสำหรับสถานที่หรือห้องที่อุณหภูมิไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริเวณที่ไม่มีความเย็นและความชื่น ได้แก่ ห้องพัก ห้องประชุม ห้องโถงและทางเดินระหว่างชั้น เป็นต้น
- Heat Detector ชนิดรวม เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนามาให้สามารถติดตั้งได้กับทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นห้องที่มีอุณหภูมิคงที่หรือบริเวณที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงก็ตาม
ที่สำคัญอย่าลืมที่จะคำนึงถึงระดับความสูงของเพดานที่ติดตั้งเครื่องตรวจจับความร้อน ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อให้ Head Detector สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากที่ทุกคนอ่านบทความนี้จบแล้วน่าจะเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนกันมากขึ้นแล้ว และได้ทราบคำตอบกันแล้วว่าอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนมีกี่ชนิด Heat Detector มีกี่แบบ และแต่ละแบบมีหลักการทำงานอย่างไร
สุดท้ายนี้ หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Heat Detector หรือ อุปกรณ์เซฟตี้อื่นๆ ที่สามารถช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากเพลิงไหม้ สามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ที่ Santo Fire.co.th
เราเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เซฟตี้ทุกประเภท และรับติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ประตูหนีไฟ รวมไปถึงระบบ Fire Alarm ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ในราคาพิเศษ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560, 02-248-3087 เรามีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้าทุกชิ้น