เครื่องหมายและสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้ถึงความหมายว่าสื่อถึงอะไรบ้าง เพราะหลายๆ ครั้งที่เราได้เข้าไปในสถานที่ที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้บางคนอาจจะเข้าใจความหมาย บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าสื่อถึงอะไรกันแน่ และทำให้อยากรู้ถึงความหมายของสัญลักษณ์ความปลอดภัยว่ามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างหมายถึงอะไร บทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยกัน
สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คืออะไร
สีและสัญลักษณ์ความปลอดภัย คือ สิ่งที่แสดงถึงสถานะด้านต่างๆ ที่จะมาในรูปแบบป้ายสัญลักษณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อความปลอดภัย เตือนให้มีการระมัดระวัง คำแนะนำ ข้อปฏิบัติ ความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตราย อุบัติเหตุ ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นสัญลักษณ์ ข้อความสั้นๆ พร้อมด้วยสีที่สื่อถึงความหมายให้ผู้ที่พบเห็นได้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
โดยป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นมาตรฐานที่มีขึ้นทั้งในไทย และต่างประเทศ ซึ่งหลายๆ คนอาจสงสัยว่าแล้วส่วนใหญ่ป้ายสัญลักษณ์เหล่านี้มักพบเจอที่ไหนบ้าง? คำตอบคือเราสามารถพบเจอเครื่องหมายความปลอดภัยได้ในโรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ทำงานที่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์เตือนความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นสถานที่ส่วนใหญ่ที่มีการใช้ป้ายเหล่านี้ เพื่อความง่ายต่อการสื่อสาร ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อความเยอะ ก็สามารถเข้าใจสัญลักษณ์ความปลอดภัยได้ตรงกัน
สีเพื่อความปลอดภัยมีสีอะไรบ้าง
สัญลักษณ์ความปลอดภัยมีกี่สี? โดยเพื่อความเข้าใจง่ายนอกจากข้อความ คำ รูปร่าง สัญลักษณ์ รูปแล้ว สัญลักษณ์ความปลอดภัยยังมีการใช้สีช่วยในการสื่อความหมายควบคู่เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องหมายความปลอดภัยได้แบ่งสีเพื่อสื่อความหมาย ดังตารางต่อไปนี้
สี-สัญลักษณ์ความปลอดภัย ความหมาย และสีตัดของป้าย |
||||
สีแดง (Red) |
หมายถึง หยุด เช่น เครื่องหมายหยุด, เครื่องหมายห้าม |
ตัดด้วยสีขาว |
||
สีฟ้า (Blue) |
หมายถึง ต้องปฏิบัติ เช่น เครื่องหมายบังคับ |
ตัดด้วยสีขาว |
||
สีเขียว (Green) |
หมายถึง ปลอดภัย อยู่ในสภาวะที่ปลอดภัย เช่น ทางหนีไฟ |
ตัดด้วยสีขาว |
||
สีเหลือง (Yellow) |
หมายถึง ระวัง มีอันตราย เช่น เครื่องหมายระวังอันตราย |
ตัดด้วยสีดำ |
หมายเหตุ: นอกจากนั้นสัญลักษณ์ความปลอดภัยสีแดงยังสามารถใช้เป็นป้ายสำหรับอุปกรณ์อัคคีภัยต่างๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น ถังดับเพลิง เป็นต้น
รูปแบบของเครื่องหมายสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัยทุกประเภทหลัก
เครื่องหมายสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ตามจุดประสงค์ของการใช้งาน โดยจะมีภาพสัญลักษณ์อยู่ตรงกลางของเครื่องหมาย อยู่ใต้แถบขวางของเครื่องหมายห้าม ในกรณีที่ไม่มีภาพที่เหมาะสมกับความหมาย จะใช้เครื่องหมายร่วมกับเครื่องหมายเสริม
รูปแบบของเครื่องหมายสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัยทุกประเภทนั้น ได้มีการจำแนกสี และประเภทออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งกำหนดว่าจะต้องแสดงสัญลักษณ์ภาพไว้ตรงกลางของเครื่องหมาย
ทำไมต้องใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัย
อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่สามารถเกิดได้ทุกที่ จึงจำเป็นต้องมีการรับมือในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง หนึ่งในการรับมือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเลยนั่นคือป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย เคยสังเกตไหมว่าเวลาไปที่ต่างๆ จะเห็นป้ายทางหนีไฟ ป้ายทางออกฉุกเฉิน ป้ายเครื่องดับเพลิง ป้ายระวังอันตราย เป็นต้น
โดยสาเหตุที่เราต้องใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัยนั้นมีความสำคัญ ได้แก่
- เครื่องหมายสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นสัญลักษณ์สากล ทุกคนทั่วโลกสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
- การใช้สัญลักษณ์ความปลอดภัยยังเป็นการบ่งบอกถึงข้อควรปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัยในขณะเข้าไปในสถานที่นั้นๆ
- ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม เขตก่อสร้าง เป็นต้น
ตัวอย่างมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย
มาตรฐานของสัญลักษณ์เครื่องหมายความปลอดภัยแม้จะหลายมาตรฐาน ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศที่ได้กำหนด เช่น ภาษา หรือรูปภาพภายในป้าย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องการสื่อในสัญลักษณ์ความปลอดภัยสามารถเข้าใจได้ตรงกัน โดยมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย ได้แก่
มอก.635-2554
มอก.635-2554 เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ สี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย โดยจะกำหนดสีและเครื่องหมาย ที่บ่งชี้ถึงความปลอดภัยในที่ทำงานหรือพื้นที่สาธารณะ มอก.635-2554 แยกประเภทของเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยเป็น 5 ประเภท ดังนี้
- เครื่องหมายห้าม
- เครื่องหมายบังคับ
- เครื่องหมายเตือน
- เครื่องหมายแสดงสภาวะปลอดภัย
- เครื่องหมายแสดงอุปกรณ์เกี่ยวกับอัคคีภัย
มาตรฐาน ISO 3864
ISO 3864 คือ มาตรฐานสากลของ เครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยในที่ทำงาน และที่สาธารณะ มีสัญลักษณ์เข้าใจง่าย เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคทางภาษา โดยแบ่งเป็นมาตรฐาน 4 ส่วนดังนี้
- ISO 3864-1:2011 ส่วนที่ 1 : หลักการออกแบบป้ายความปลอดภัย และ ความปลอดภัย
- ISO 3864-2:2016 ส่วนที่ 2 : หลักการออกแบบฉลากความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
- ISO 3864-3:2012 ส่วนที่ 3 : หลักการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิกเพื่อใช้ในป้ายความปลอดภัย
- ISO 3864-4:2011 ส่วนที่ 4 : คุณสมบัติสี และ โฟโตเมตริกของวัสดุป้ายความปลอดภัย
มาตรฐาน ISO 7010
ISO 7010 คือ มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น เพลิงไหม้ การอพยพฉุกเฉิน โดยสัญลักษณ์เหล่านี้จะใช้ตัวอักษรให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่เป็นสากล อ้างอิงจากมาตรฐาน ISO 3864-1
มาตรฐาน ANSI Z535
ANSI Z535 เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ American National Standards Institute เป็นองค์กรอิสระ โดยได้กำหนดมาตรฐานไว้ทั้งหมด 6 ข้อเกี่ยวกับเครื่องหมายสัญลักษณ์ความปลอดภัยที่มีความเข้าใจง่าย ได้แก่
สีแดง : สำหรับสัญญาณอันตราย สัญญาณฉุกเฉิน วัตถุไวไฟ ฯลฯ
สีส้ม : สำหรับสัญญาณเตือน และบอกถึงสถานะของอุปกรณ์-เครื่องจักรที่กำลังอยู่ในระหว่างการทำงาน
สีเหลือง : สำหรับการแจ้งเตือนเมื่อเกิดอันตรายทางกายภาพ
สีฟ้า : สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวก หรืออื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
สีเขียว : สำหรับความปลอดภัย รวมถึงการปฐมพยาบาล
สีม่วง : สามารถกำหนดการใช้งานได้ตามสะดวกในสถานที่ของตัวเอง
สรุป
สัญลักษณ์และความปลอดภัยเป็นสิ่งที่มีขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงข้อควรปฏิบัติในสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต การติดตั้งป้ายเพื่อแจ้งถึงสิ่งที่ควรทำ ควรหลีกเลี่ยง ควรระมัดระวัง และอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสีของป้าย สัญลักษณ์ ภาพ รูปแบบ ข้อความสามารถสื่อสาร เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว
หากคุณกำลังมองหาป้ายความปลอดภัย แผ่นป้ายความปลอดภัยชนิดต่างๆ ทั้งแบบกล่องป้ายไฟ ป้ายเกี่ยวกับอัคคีภัย หรือป้ายเรืองแสง เรามีสินค้าพร้อมจำหน่ายให้กับคุณ เพราะ SantoFire จำหน่ายชุดป้ายบังคับความปลอดภัย ป้าย safety sign ครบทุกประเภท ใช้งานได้นาน นอกจากนั้นเรายังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิต นำเข้า จัดจำหน่ายถังดับเพลิง ติดตั้งระบบดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไปอย่างครบวงจร
หากคุณสนใจ หรือกำลังมองหาสินค้าที่ราคาดีที่สุดเกี่ยวกับความปลอดภัย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-245-9560 หรือ 02-248-3087
อีเมล: st.santofire@gmail.com
Line: @santofire