เครื่องตรวจจับควันไฟ ราคาพิเศษ พร้อมติดตั้ง
การติดตั้งเครื่องตรวจจับควันภายในพื้นที่ เป็นหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ต้องติดทุกอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารแบบเด็ดขาด แล้วอุปกรณ์ตรวจจับควันมีกี่ชนิด? มีรูปแบบการใช้งานแบบไหน? และเครื่องจับควันการทํางานอย่างไรบ้าง? บริษัท ซานโต ไฟร์ จึงมาให้ความรู้เกี่ยวเครื่องตรวจจับควัน แต่ละประเภทได้ในที่นี่
เครื่องตรวจจับควันไฟ
เครื่องตรวจจับควันไฟ
เครื่องตรวจจับควันไฟ
เครื่องตรวจจับควันไฟ
เครื่องตรวจจับควันไฟ
อุปกรณ์ตรวจจับควัน รุ่น S-314 Photoelectric Smoke Detector ยี่ห้อ CEMEN
เครื่องตรวจจับควันไฟราคาดี คุ้มค่าที่สุด
โดยทั่วไป เครื่องเตือนควันสำหรับการใช้งานเพื่อตรวจสถานะความร้อนอย่างเดียว สามารถติดตั้งโดยไม่ต้องเดินสาย มีแบตเตอรี่ในตัว ราคาเครื่องตรวจจับควันเริ่มต้นอยู่ที่ 150 - 600 บาท แต่กรณีที่เป็นเครื่องตรวจจับควัน ที่มีฟังก์ชันการเชื่อมต่อแบบไร้สาย สามารถดูรายละเอียดข้อมูลผ่านแอปในสมาร์ทโฟน เครื่องตรวจจับควันราคาประมาณ 800 - 1500 บาท หากเป็นเครื่องจับสัญญาณควันที่มีระบบตรวจจับไฟไหม้ และแจ้งเตือนสัญญาณขโมยภายในตัว ตัวอะไหล่สามารถแบ่งช่องไดร์คอนแทกแยกกระแสไฟฟ้า พร้อมเป็นอุปกรณ์ไร้สายเชื่อมการทำงานกับระบบเน็ตเวิร์กผ่านแอป เครื่องตรวจจับควันชนิดนี้จะมีราคาอยู่ที่ 2500 บาท เป็นต้นไป ทางบริษัทของเรา นอกจากจะมีสินค้าเครื่องตรวจจับควันไฟหลากหลายฟังก์ชันให้ลูกค้าเลือก เรายังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างชุดอุปกรณ์ดับเพลิงอีกด้วย สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560 , 02-248-3087เครื่องตรวจจับควันใช้งานง่าย ได้ผลจริง
จะเลือกเครื่องตรวจจับควันยี่ห้อไหนดี ทางบริษัท ซานโต ไฟร์ มีพร้อมจำหน่ายให้ซื้อ ทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่เครื่องตรวจจับควัน ยี่ห้อ CEMEN รุ่น S-315
เครื่องตรวจจับควัน รุ่น S-315 ใช้วัสดุทำจากพลาสติกสีขาว มีคุณสมบัติทนทานสถานะร้อนได้ดีเยี่ยม ลักษณะเครื่องจับควันเป็นทรงกลม มีช่องไฟ LED สีแดงสแตนบายกระพริบ โดยใช้กระแสไฟฟ้า 25 ~ 75 ไมโครแอมป์ เมื่อตรวจจับไอควันตัวไฟจะส่องแสงค้างจะกินกระแสไฟ 40 มิลลิแอมป์เครื่องตรวจจับควัน ยี่ห้อ AIP รุ่น AIP-0621
เครื่องตรวจจับควัน รุ่น AIP-0621 จากประเทศไต้หวัน ใช้วัสดุทำจากพลาสติกสีขาว มีคุณสมบัติทนทานสถานะร้อนได้ดี ทนทานต่อความร้อนสูง ลักษณะเครื่องจับสัญญาณควันเป็นทรงกลม มีช่องไฟ LED สีเขียวสแตนบายกระพริบ โดยใช้กระแสไฟฟ้า 25 ~ 75 ไมโครแอมป์ เมื่อตรวจจับไอควันตัวไฟ LED จะส่องแสงสีแดงค้าง กินกระแสไฟ 40 มิลลิแอมป์ พร้อมส่งสัญญาณแจ้งเตือนบริเวณในโซนอาคารเครื่องตรวจจับควัน ยี่ห้อ Siterwell Electronics รุ่น GS528A
เครื่องตรวจจับควันไร้สาย รุ่น GS528A ที่ได้รับมาตรฐาน UL.LISTED ลักษณะเครื่องตรวจควันเป็นทรงกลม อะไหล่ภายในเป็นแบบใส่ถ่านขนาด 9 โวลท์ นิยมเป็นเครื่องจับควันคอนโด อพาร์ทเม้นต์ และบ้าน เพราะตัวเครื่องชนิดนี้ไม่ต้องเดินสาย ผู้ใช้สามารถติดตั้งแล้วดำเนินใช้งานได้ทันที เมื่อตรวจจับไอควันตัวไฟ LED จะส่องแสงสีแดงค้าง พร้อมส่งเสียงแจ้งเตือน 85 dB ในระยะ 3 เมตรเครื่องตรวจจับควัน ยี่ห้อ CEMEN รุ่น S-320
เครื่องตรวจจับควันและเครื่องตรวจควันไฟ รุ่น S-320 ในตัวเดียวกัน ใช้วัสดุทำจากพลาสติกสีขาว มีคุณสมบัติทนไอร้อน หรือกระทั่งเปลวเพลิงได้ดี ตัวอะไหล่ภายในเครื่องมีช่องไดร์คอนแทกแยกให้ผู้ใช้เปิดฟังก์ชันสัญญาณกันขโมย ลักษณะเครื่องจับควันไฟเป็นทรงกลม มีช่องไฟ LED สีเขียวสแตนบายกระพริบ โดยใช้กระแสไฟฟ้า 35 ~ 85 ไมโครแอมป์ เมื่อตรวจจับไอควันตัวไฟ LEDจะเปลี่ยนสีแดงค้าง พร้อมกินกระแสไฟ 45 มิลลิแอมป์เครื่องตรวจจับควัน ยี่ห้อ CEMEN รุ่น S-314
เครื่องตรวจจับควันและเครื่องตรวจจับไฟไหม้ รุ่น S-314 ในตัวเดียวกัน ใช้วัสดุทำจากพลาสติกสีขาว มีคุณสมบัติทนความร้อน หรือกระทั่งเปลวเพลิงได้ดี ตัวอะไหล่ภายในเครื่องมีช่องไดร์คอนแทกแยกให้ผู้ใช้เปิดฟังก์ชันแยกกินกระแสไฟ 0.8 แอมป์ สำหรับไฟ 30 โวล์ท และ 0.4 แอมป์ สำหรับไฟ 125 โวล์ท ลักษณะเครื่องจับควันไฟเป็นทรงกลม มีช่องไฟ LED สีเขียวสแตนบายกระพริบ โดยใช้กระแสไฟฟ้า 75 ไมโครแอมป์ เมื่อตรวจจับไอควันตัวไฟLEDจะเปลี่ยนสีแดงค้าง พร้อมกินกระแสไฟ 30 มิลลิแอมป์เลือกเครื่องตรวจจับควันไฟให้เหมาะกับการใช้งาน
ก่อนจะตัดสินใจซื้อเครื่องตรวจจับควัน ผู้ใช้ต้องพิจารณาคุณสมบัติของตัวอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะตัวอาคาร สภาพแวดล้อม และรวมไปถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ เช่น สิ่งปลูกสร้างภายในอาคารอย่าง ผนัง ปูนกระเบื้อง หรือเฟอร์นิเจอร์ภายในพื้นที่ห้องอย่าง เตียงนอน โซฟา ที่เป็นต้นเหตุการเกิดเพลิงไหม้ได้ช้า-เร็วอีกเช่นกัน สนใจอ่านข้อมูลวิธีเลือกที่ตรวจจับควันแบบรายละเอียดได้ที่บทความ smoke detector คืออะไร เลือกซื้ออย่างไรกฎหมายการติดเครื่องตรวจจับควันไฟ
ตามกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543 การติดเครื่องตรวจจับควันไฟ อาคารที่มีพื้นที่เกิน 2000 ตาราเมตร และ ตึกสูงเกิน 23 เมตร จะต้องบังคับติดตั้ง อุปกรณ์ 4 ชนิด ดังนี้- เครื่องตรวจจับควัน (smoke detector)
- เครื่องตรวจจับเครื่องตรวจจับไฟไหม้หรือความร้อน (heat detector)
- กระดิ่งส่งสัญญาณเตือน (fire alarm)
- สายดับเพลิง ยาว 30 เมตร และ สปริงเกอร์ดับเพลิงอาคารชั้นละ 1 จุด
การทำงานของเครื่องตรวจจับควันไฟ
การทำงานของเครื่องตรวจจับควัน มี 2 รูปแบบ ดังนี้- เครื่องตรวจจับควัน แบบ Lonization เป็นระบบที่มีขั้วไฟฟ้าต่างกัน หลักการจับตรวจจะใช้สารกัมนัมตภาพรังสีกระตุ้นสถานะอากาศให้เกินสารไอออน เพื่อนำกระแสไฟฟ้าทางอากาศเข้าสู่กล่องขั้วไฟฟ้าทั้ง 2 ข้าง ไอควันจะเข้าสู่กล่องขั้วไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก เครื่องตรวจจับควันจะส่งสัญญาณ
- เครื่องตรวจจับควัน แบบ Photoeletric เป็นระบบฟังก์ชันที่ใช้แสงเป็นตัวรับ-ส่งสัญญาณ เมื่อไอน้ำ ควัน หรือฝุ่น บดบังรูรับแสงของตัวเครื่องตรวจจับควันในปริมาณสูง ตัวระบบจะแจ้งเตือนเสียงทันที