ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational Safety and Health) คืออะไร มีอะไรบ้าง

อุบัติเหตุในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากโรงงานหรือสถานที่ทำงานไม่ได้มีมาตรการการป้องกันรักษาความปลอดภัยที่ดี อาจจะเกิดอุบัติเหตุสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และบุคลากรได้

อุบัติเหตุในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากโรงงานหรือสถานที่ทำงานไม่ได้มีมาตรการการป้องกันรักษาความปลอดภัยที่ดี อาจจะเกิดอุบัติเหตุสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และบุคลากรได้ 

บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวความหมายที่แท้จริงของคำว่า ความปลอดภัยในการทำงาน ว่าจริงๆ แล้วความปลอดภัยในการทำงานหมายถึงอะไร ครอบคลุมถึงอะไรบ้าง ลองมาหาคำตอบไปพร้อมกัน ในบทความนี้

ความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational Safety and Health) คืออะไร

ความปลอดภัยในการทำงาน หรืออีกชื่อคือ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS) หมายถึง สภาพการทำงานที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุการณ์ (Incident) ซึ่งในที่นี้รวมไปถึงอุบัติเหตุ (Accident) ที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงาน และเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss) พร้อมทั้งไม่เกิดโรคจากการทำงาน 

โดยความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในทีนี้ ไม่ได้หมายถึงเพียง เจ้าที่พนักงานที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ แต่รวมไปถึงทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัยของผู้บริหาร ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ลูกจ้าง คนงาน พนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

ความปลอดภัย คือ

ความปลอดภัย (Safety) คือ ร่างกายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานปราศจากภัย หรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงการไม่มีโรคที่เกิดจากการทำงาน นอกจากร่างกายแล้วความปลอดภัยยังร่วมไปถึงทรัพย์สินต่างๆ อีกด้วย 

ซึ่งความปลอดภัยนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนควรได้รับ โดยความปลอดภัยในที่ทำงานจะมากหรือน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงแค่กับมาตรฐานรักษาความปลอดภัยของโรงงานเพียงเท่านั้น แต่ทุกคนในบริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของทั้งตนเองและส่วนร่วม 

หลักความปลอดภัย 3 หลักสากลที่ควรมีในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงานนับว่าเป็นหัวใจหลักที่สำคัญในการทำงาน โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการกำหนดให้ทุกองค์กรควรมีหลักความปลอดภัย 3 หลักสากลที่ควรจะมีในการทำงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน ได้แก่ 

  • องค์กรต้องมีการส่งเสริมด้านสุขภาพของเจ้าหน้าที่และพนักงานทุกคน 
  • องค์กรต้องมีการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ให้เหมาะสมและให้ที่ทำงานเกิดความปลอดภัย 
  • องค์กรต้องมีการออกนโยบายจากผู้บริหารเพื่อแสดงจุดยืนด้านความปลอดภัยขององค์กร พร้อมทั้งมีการจัดฝึกอบรมความปลอดภัยให้กลับพนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัยในโรงงาน

อันตรายที่อาจเกิดจากการทำงาน

อันตราย หรือ อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดจากการทำงาน เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดไม่ว่าจะทั้งกับตนเองหรือผู้อื่นก็ตาม แต่ว่าการทำงานนั้นแฝงไปด้วยอันตรายในสถานที่ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น 

  • อันตรายจากการสัมผัสสารเคมีอันตรายในที่ทำงาน เช่น สารเคมีที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันและระบบประสาท สารเคมีที่ทำลายผิวหนัง และสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
  • สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เช่น สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ สารเคมี และสารชีวภาพ 
  • อันตรายด้านการยศาสตร์ เช่น การสูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุมาจากการทำงาน โดยเป็นอันตรายจากการทำงานที่พบได้บ่อยในประเทศสหรัฐอเมริกา 
  • อันตรายจากสถานที่ทำงานไม่ได้มาตรฐาน เช่น สิ่งของและอุปกรณ์ในที่ทำงานหล่นทับ 

จากที่ได้ยกตัวอย่างไปข้างต้น ทุกคนน่าจะเริ่มเข้าใจกันบ้างแล้วว่าทำไมความปลอดภัยในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ความปลอดภัยในสำนักงาน ถึงเป็นสิ่งสำคัญที่หลายๆ องค์กรต้องคำนึง

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

ในปัจจุบันสามารถแบ่งสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 

การเกิดอุบัติเหตุจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act)

  • การปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ 
  • การหยอกล้อ และเล่นกันในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่
  • ไม่สวมอุปกรณ์เซฟตี้ในขณะปฏิบัติหน้าที่
  • ไม่รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน 
  • ขับรถด้วยความเร็วเกินมาตรฐานกำหนดไว้ 
  • ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎเกณฑ์รักษาความปลอดภัยที่กำหนดไว้ 
  • การปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกวิธี หรือ ข้ามขั้นตอนที่กำหนดไว้ 
  • ไม่ช่วยตักเตือนผู้ที่กระทำการเสี่ยงอันตราย 
  • สภาพร่างกายไม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ เช่น เมาค้าง 
  • ใช้เครื่องมือ และสวมเครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ 
  • มีทัศนคติเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่ไม่ถูกต้อง เช่น อุบัติเหตุมีสาเหตุมาจากเคราะห์กรรมของชาติปางก่อน
  • ความประมาท และเหม่อลอย 
  • ความไม่เอาใส่ใจในขณะปฏิบัติหน้าที่ 
  • มีนิสัยชอบความเสี่ยง ความท้าทาย 

การเกิดอุบัติเหตุจากสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition)

  • การวางผังโรงงานที่ไม่ถูกหลัก 
  • สถานที่ทำงานแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 
  • สถานที่ทำงานสกปรก วางของไม่เป็นระเบียบ 
  • อุปกรณ์และเครื่องจักรอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน 
  • ไม่มีที่กำบังเครื่องจักรในส่วนที่อาจจะเกิดอันตราย 
  • กองวัสดุสูงเกินไป 
  • พื้นผิวขรุขระ 
  • ระบบไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดและไม่ได้มีการซ่อมบำรุง 
อุบัติเหตุในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากโรงงานหรือสถานที่ทำงานไม่ได้มีมาตรการการป้องกันรักษาความปลอดภัยที่ดี อาจจะเกิดอุบัติเหตุสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และบุคลากรได้

 

ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ

หากไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดี อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดความสูญเสียในที่ทำงานได้ โดยที่ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุในที่ทำงานสาเหตุ แบ่งออกเป็น 2 อย่างหลักๆ ได้แก่ ความสูญเสียทางตรง และ ความสูญเสียทางอ้อม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

  • ความสูญเสียทางตรง เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุโดยตรง เช่น ร่างกายได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ พิการ และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น 
  • ความสูญเสียทางอ้อม เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เช่น สูญเสียงาน สูญเสียโอกาส ผลผลิตลดลง ค่าใช้จ่ายฝึกพนักงานใหม่ เสียชื่อเสียง ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ เป็นต้น

มาตรฐานการป้องกันอุบัติเหตุ

เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องทำให้ในปัจจุบันมีการแบ่งมาตรฐานการป้องกันอุบัติเหตุออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆ ได้แก่ 

การป้องกันจากแหล่งกำเนิด

เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่และพนักงานในจุดที่อาจจะเกิดอันตรายได้ตั้งแต่ต้น เช่น สร้างที่กันบังครอบส่วนที่เป็นอันตรายหรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งดูแลรักษาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์อยู่เสมอ 

การป้องกันที่ทางผ่าน

การป้องกันทางผ่านเป็นการแบ่งพื้นที่ระหว่างพื้นที่อันตรายและพื้นที่ปลอดภัยอย่างชัดเจน ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าบริเวณใดจำเป็นต้องสวมอุปกรณ์เซฟตี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ โดยการป้องกันทางผ่านรวมไปถึงการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ทำงานด้วย 

การป้องกันโดยตัวบุคคล

เป็นการเพิ่มความปลอดภัยโดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวบุคคล เช่น การสวมใส่อุปกรณ์เซฟตี้ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มาตรฐานรักษาความปลอดภัยที่ทางองค์กรอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

การป้องกันอุบัติเหตุเพื่อความปลอดภัยโดยวิธีอื่นๆ

การใช้กฎ 5 ส เพื่อความปลอดภัย

กฎ 5ส เป็นพื้นฐานด้านความปลอดภัยที่ทำงานที่ทุกหน่วยงานสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ และเป็นการส่งเสริมความปลอดภัยในที่งาน ได้แก่ 

  1. สะสาง (Seiri) แยกหมวกหมู่ของใช้ให้ชัดเจนสิ่งไหนจำเป็นสิ่งไหนไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่การใช้สอย และสามารถใช้สิ่งของได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น 
  2. สะดวก (Seition) เป็นการจัดเก็บเพื่อให้หาของได้ง่าย และหยิบใช้ได้สะดวก ซึ่งจะช่วยให้ตรวจสอบ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 
  3. สะอาด (Seiso) ทั้งอุปกรณ์ เครื่องจักร และสถานที่ต้องได้รับการดูแลความสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งาน และช่วยให้สภาพแวดล้อมในที่ทำงานน่าอยู่ 
  4. สุขลักษณะ (Seiketsu) สิ่งของและสภาพแวดล้อมต้องมีสุขลักษณะที่สัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในที่ทำงาน 
  5. สร้างนิสัย (Shitsuke) เป็นการสร้างนิสัยของคนภายในองค์กรให้ปฏิบัติตาม 4ส ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมีระเบียบวินัย และทำให้เกิดความสามัคคี 

การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคล สามารถช่วยป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดความรุนแรงของอันตรายที่อาจจะเกิด เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น นักผจญเพลิงจำเป็นต้องสวมชุดดับเพลิง หมวก ถุงมือ และรองเท้าเซฟตี้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น 

สามารถอ่านรายละเอียดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก 

การจัดการพื้นที่ให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการทำงาน

การจัดพื้นให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการทำงาน นอกจากจะช่วยให้ทำงานได้คล่องและง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้คุณภาพชีวิตในที่ทำงานของพนักงานทุกคนดีขึ้น ทั้งนี้การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงานยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กร 

การเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานเฉพาะด้าน เช่น ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ปฏิบัติงานทุกหน่วยงานจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น การให้ข้อมูลและความรู้ที่จำเป็นทั้งขั้นตอนการทำงานและวิธีใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มีการจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ และมีการจัดฝึกซ้อม (หากจำเป็น) เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น การทำงานบนที่สูง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า และการทำงานบนที่สูง ต้องมีการเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจ และอื่นๆ 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย ที่บทความ การทำงานบนที่สูง

ความปลอดภัยในการทำงานรูปแบบต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยในการทำงานรูปแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ และอาจจะเป็นประโยชน์กับหลายคน ไม่ว่าจะเป็น 

  • ความปลอดภัยในสำนักงาน จำเป็นต้องคำนึงตั้งแต่พื้น ประตู ทางเดิน อยู่ในแนวระดับที่เหมาะสมไม่ลาดเอียง วัสดุที่ใช้ปูพื้นต้องกันลื่น หรือ เต้าเสียบและสายไฟฟ้าต้องไม่มีรอยฉีกขาด หรือแตกร้าว ถ้าหากมีจำเป็นต้องรีบเปลี่ยนทันที ห้ามพันด้วยเทปพันสายไฟ 
  • ความปลอดภัยในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ หากต้องทำงานจ้องหน้าจอตลอดทั้งวันควรพักดวงตาเป็นระยะระหว่าง พร้อมทั้งมีการบริหารร่างกายหรือเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดจากการทำงาน เช่น ออฟฟิศซินโดรม นิ้วล็อค หรือข้อต่อยึด เป็นต้น 
  • ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยการถ่ายเอกสารทุกครั้งควรปิดฝาครอบให้สนิท มีการบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และไม่ทำงานกับเครื่องถ่ายเอกสารตลอดทั้งวันโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ 
  • ความปลอดภัยในการใช้บันได ควรเลือกใช้บันไดให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ต้องพาดบันไดให้ได้มุมที่ปลอดภัย คือมุมประมาณ 75 องศา และจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพบันไดก่อนใช้งานทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย 
  • ความปลอดภัยในการทำในที่อับอากาศ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องผ่านการอบรมตามที่กฎหมายกำหนด และต้องมีการขออนุญาตเข้าทำงานในสถานที่อับอากาศทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน 
  • ความปลอดภัยในการยกของหนัก จำเป็นต้องคำนึงถึงน้ำหนักของที่สามารถยกได้ โดยเทียบกับข้อกำหนดของกฎกระทรวงที่กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ ได้แก่ ผู้ชายอายุ 18 ปีขึ้นไป ยกของได้ไม่เกิน 55 กิโลกรัม และ ผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้น ยกได้ไม่เกิน 25 กิโลกรัม หากเกินต้องใช้เครื่องทุ่นแรง 

หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์เซฟตี้ที่สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่ สามารถเข้ามาเลือกซื้อได้ที่ Santo Fire.co.th เราเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เซฟตี้ทุกประเภท และรับติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ประตูหนีไฟ รวมไปถึงระบบ Fire Alarm ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ในราคาพิเศษ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560, 02-248-3087 เรายินดีให้คำปรึกษาและแนะนำสินค้าทุกชิ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า