อันตรายจากเสียงดังเกิดจากสาเหตุใดบ้าง เสียงที่เราได้ยินกันมีกี่ประเภท?

อันตรายจากเสียงดังเกิดจากสาเหตุใด

ในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเสียงดังหลากหลายรูปแบบ จากสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้านคุณจะต้องเจอกับเสียงดังที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ 100% ซึ่งเสียงดังเหล่านี้จะเข้าไปทำลายการได้ยินของคุณอย่างช้า ๆ หากคุณต้องเจอกับภาวะเสียงที่ดังเกินกว่ามาตรฐานอยู่บ่อยครั้งเซลล์ภายในหูของคุณจะเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ในบางรายอาจจะไม่มีอาการทันที ต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะสังเกตได้ว่าระบบการได้ยินเสียงของคุณมีปัญหา ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมี อุปกรณ์เซฟตี้เพื่อถนอมหูและป้องกันการสูญเสียด้านการได้ยิน

คนเราได้ยินเสียงได้อย่างไร?

ใบหูของเราจะดักจับเสียงรอบข้างและนำเสียงเหล่านั้นเข้าสู่ท่อปลายปิดที่หูชั้นนอกหรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่าแก้วหู ซึ่งมีหน้าที่เป็นหนังกลองเสียง เมื่อมีเสียงกระทบที่หนังกลองเสียง แก้วหูจะเกิดแรงสั่นสะเทือนและส่งต่อแรงสั่นสะเทือนนี้ไปยังกระดูกหูทั้ง 3 ชิ้นที่อยู่บริเวณหูชั้นกลางชื่อว่า โคเคลีย (Cochlea) มีลักษณะเป็นท่อม้วนขดและมีน้ำหล่อเลี้ยงภายใน เมื่อเสียงกระทบกับน้ำหล่อเลี้ยงจะทำให้เซลล์ในประสาทและผนังเทกโตเรียลประจุไฟฟ้าจะทำงาน จากนั้นระบบเส้นประสาทหูส่งต่อไปยังสมองเพื่อประมวลผลเป็นคำพูด ความหมาย และภาพ จากนั้นสมองจะสั่งการโต้ตอบเป็น คำพูด อารมณ์และการกระทำ

มลพิษจากเสียงหรืออันตรายจากเสียงเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

อันตรายจากเสียงดังเกิดจากการที่คุณได้ยินเสียงที่ดังเกินกว่ามาตรฐานคือ 80 เดซิเบล(dB) ซึ่งระดับเสียงที่เป็นมิตรกับหูจะอยู่ที่เสียงดังระดับ 75 เดซิเบล(dB) การที่คุณได้ยินเสียงแตรรถยนต์ เสียงท้อรถยนต์ เสียงประทัด เสียงฟ้าร้อง เสียงปืน เสียงเครื่องบิน เสียงจากเครื่องเสียงต่าง ๆ เสียงเครื่องจักรโรงงาน และเสียงเครื่องมือทำบ้านหรือเสียงเครื่องมือทำถนน ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ระบบการได้ยินของคุณเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลต่อการได้ยินในอนาคต นอกจากนี้การที่คุณได้ยินเสียงเหล่านี้ใกล้หูในระดับที่ดัง ๆ มาก ๆ กะทันหัน จะส่งผลให้หูของคุณอื้อชั่วขณะ 

เสียงดังมีกี่ประเภท

เสียงดังคือ เสียงใดก็ตามรอบข้างที่ดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนดตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า ลูกจ้างหรือบุคลากรใดก็ตามที่ทำงานอยู่ภายใต้เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบลนานเกิน 8 ชั่วโมง จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินโดยตรง ซึ่งระดับเสียงของแต่ละเดซิเบลที่มีผลต่อการได้ยินจะมี 5 ระดับด้วยกัน ดังนี้

  1. เสียงดังระดับ 75 เดซิเบลคือ ระดับเสียงที่เป็นมาตรฐานไม่รบกวนประสาทหูและไม่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบการได้ยินในอนาคต

     

  2. เสียงดังระดับ 80 เดซิเบล ต้องได้รับเสียงติดต่อกันไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง 

     

  3. เสียงดังระดับ 90 เดซิเบล ต้องได้รับเสียงติดต่อกันไม่เกินวันละ 7-8 ชั่วโมง 

     

  4. เสียงดังระดับ 91 เดซิเบล ต้องได้รับเสียงติดต่อกันไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง

     

  5. เสียงดังระดับ 140 เดซิเบล ประสาทหูไม่ควรได้รับเสียงดังระดับนี้ทุกกรณี

     

การได้รับเสียงในระดับที่เกินกว่ามาตรฐานกำหนดจะส่งผลให้เกิดอาการ ดังนี้

  • หงุดหงิด 

     

  • รบกวนการสื่อสาร 

     

  • ส่งผลต่อการนอน

     

  • ไม่มีสมาธิ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ 

     

  • สูญเสียการได้ยินชั่วขณะหรือถาวร

องค์ประกอบของเสียงมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของเสียงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. Frequency (ความถี่เสียง) คือ เสียงสูง กลาง ต่ำ หากคลื่นเสียงมีการสั่น 1000 รอบใน 1 วินาที หมายความว่า คลื่นนี้มีความถี่ 1000Hz (1kHz)

     

  2. Wavelength (ความยาวคลื่น) คือ คือระยะทางของคลื่นเสียงจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีหน่วยเป็นเมตร เช่น ความยาวคลื่นความถี่ 100Hz ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ใน 1 วินาทีจะได้ความเร็วเสียงเท่ากับ 340 เมตร

     

  3. Amplitude (แอมปลิจูด) คือ ความสูงของเสียง ซึ่งประสาทรับรู้เสียงของเราสามารถรับรู้ความดังได้ตั้งแต่ 0dB และสามารถทนต่อความดังได้สูงสุด 120dB

ประเภทของเสียงโดยทั่วไป

เสียงดังมีกี่ประเภท

เสียงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

เสียงบริสุทธิ์

เสียงบริสุทธิ์ คือ เสียงที่มีความถี่เดียวโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง เช่น การเคาะซ่อมเสียง เป็นต้น

เสียงผสม

เสียงผสม คือ เสียงที่เกิดจากการผสมผสานเข้ากับคลื่นความถี่ของเสียงบริสุทธิ์ เช่น เสียงดนตรี เสียงนก และเสียงพูดคุย เป็นต้น

เสียงรบกวน

เสียงรบกวน คือ เสียงที่เกิดจากความดังเกินมาตรฐานกำหนดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับหู เช่น เสียงเพลงดัง ๆ เสียงท่อรถแต่ง เสียงขุดเจาะและเครื่องจักรทำงาน เป็นต้น

ประเภทของเสียงแบ่งตามลักษณะการเกิดเสียง

ประเภทของเสียงแบ่งออกเป็น 3รูปแบบ ดังนี้

เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise)

เสียงดังแบบต่อเนื่อง (continuous Noise) คือ เสียงที่ดังต่อเนื่องไม่มีหยุด และเสียงดังแบบต่อเนื่องนี้ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

      1.1 เสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (steady-state Noise) คือ เสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องโดยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงไม่เกิน 3 เดซิเบลหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงเลย เช่น เสียงพัดลม เสียงเครื่องสักผ้า เสียงเครื่องปั่นด้าย และเสียงเครื่องทอผ้า เป็นต้น

      1.2 เสียงดังต่อเนื่องที่ไม่คงที่ (Non-steady state Noise) คือ เสียงที่ดังอย่างต่อเนื่องโดยมีการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียงเกิน 10 เดซิเบล เช่น เสียงเลื่อยและเสียงเครื่องจักร เป็นต้น

เสียงดังเป็นช่วงๆ (intermittent Noise)

เสียงดังเป็นช่วงๆ (lntermittent Noise) คือ เสียงที่มีความดังและเบาสลับไปมาเป็นช่วง ๆ ไม่ต่อเนื่อง เช่น เสียงการจราจร เสียงเครื่องบินเวลาบินผ่าน เสียงเครื่องปั๊มน้ำ และเสียงเครื่องปั๊มลมเป็นต้น

เสียงดังกระทบ หรือ เสียงดังกระแทก (impact or impulse Noise)

เสียงดังแบบกระทบหรือเสียงดังแบบกระแทก (lmpact or lmpulse Noise) คือ เสียงที่ดังและมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 40 เดซิเบล โดยใช้เวลาดังขึ้นและจบลงขั้นต่ำ 1 วินาที เช่น การขุดเจาะ การตอกเสาเข็ม การทุบ และการปั๊มงาน เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้ยิน

เสียงที่อันตรายต่อหูมีอะไรบ้าง ดังนี้ 

  • เสียงดัง

การที่หูได้รับเสียงดังเป็นเวลานานหรือได้รับเสียงดังแบบกะทันหัน จะส่งผลให้เกิดอาการหูอื้อและหูดับชั่วขณะจนไปถึงขั้นหูหนวกถาวร

  • อายุ

เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะในร่างกายจึงเสื่อมสภาพตามไปด้วย รวมไปถึงโครงสร้างของหูชั้นในที่ส่งผลทำให้การได้ยินน้อยลง

  • พันธุกรรม

อาการหูหนวกสามารถถูกถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้

  • ความเครียดและการพักผ่อน

หากคุณมีความเครียดสะสมที่ส่งผลต่อการนอนหลับ จะทำให้ระบบประสาทหูเสื่อมสภาพได้

  • อาการเจ็บป่วย

โรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะส่งผลให้เกิดอาการหูดับหรือหูหนวกถาวร

  • ยา

หากรับประทานยาแอสไพรินหรือยาขับปัสสาวะเกินปริมาณที่ร่างกายต้องได้รับเป็นเวลานาน จะส่งผลให้สูญเสียการได้ยินหรือเกิดอาการเสียงดังในช่องหู (Tinnitus)

อาการที่ชี้ให้เห็นว่าเราอาจเริ่มสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง

  • ไม่สามารถได้ยินเสียงหรือได้ยินเสียงไม่ชัดขณะที่สื่อสารกับบุคคลอื่นในระดับเสียงพูดแบบปกติ 

     

  • หลังจากได้ยินเสียงดัง มีอาการหูอื้อและหูดับชั่วขณะ

     

  • มีอาการหูอื้อบ่อยครั้ง ทำให้ประสาทการรับรู้เสียงลดลง

     

  • บางครั้งอาจเกิดเสียงดังภายในหู

วิธีการป้องกันอันตรายจากมลพิษทางเสียง

เราสามารถถนอมหูและป้องกันหูจากมลพิษทางเสียงได้ เช่น การหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้สถานที่เสียงดัง ควบคุมเสียงเพลงให้อยู่ในระดับมาตรฐาน ปิดหน้าต่างและประตูหากมีการซ่อมแซมบ้านโดยใช้อุปกรณ์เครื่องจักร หรือถ้าหากคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงเสียงดังได้ คุณจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดความดังของเสียงที่เข้ามากระทบหู 

 อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่นิยมใช้กันมีดังนี้

  • EARPRO-S ที่อุดหูลดเสียงซิลิโคน

วัสดุมีความอ่อนนุ่มสวมใส่สบาย เนื่องจากผลิตจากยางสังเคราะห์ ตัวปลั๊กสามารถทำความสะอาดได้ และที่สำคัญสามารถลดค่าเสียงได้ถึง NRR 27 dBa

EARPRO-S ที่อุดหูลดเสียงซิลิโคน

  • ที่ครอบหูลดเสียง 3M รุ่น H10P3E ชนิดประกอบหมวกนิรภัย

แผ่นรองที่ครอบหูถูกออกแบบด้วยวัสดุนุ่มกระชับพิเศษ เพื่อช่วยลดแรงกดที่ใบหู และสามารถลดค่าเสียงได้ถึง 27 เดซิเบล รวมไปถึงสามารถป้องกันเสียงดังระดับ 105 เดซิเบล

ที่ครอบหูลดเสียง 3M รุ่น H10P3E

  • ที่ครอบหูลดเสียง 3M Peltor Optime 98 รุ่น H9A

ที่ครอบหูมีความกระชับและอ่อนนุ่ม สามารถลดแรงบีบใบหูและป้องกันการสั่นพ้องได้ดี ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ANSI 3.19-1974 ซึ่งสามารถป้องกันเสียงที่มีความถี่สูงและต่ำได้ มีค่าการลดเสียงได้ถึง NRR 25 dB และที่สำคัญมีตัวเลขแจ้งค่าเสียงบนอุปกรณ์ที่ป้องกันได้ถึง 95 dBA 

ที่ครอบหูลดเสียง 3M Peltor Optime 98 รุ่น H9A

สรุป

หากคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงมลพิษทางเสียงได้ เราขอแนะนำตัวช่วยที่จะสามารถถนอมหูเพื่อป้องกันระบบประสาทด้านการได้ยินมีปัญหาในอนาคต โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงหรือ อุปกรณ์เซฟตี้ที่มีมาตรฐานรองรับประสิทธิภาพการทำงาน หากคุณสนใจจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันเสียง สามารถปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่

บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด 6/53-55 ซอยแสงอุทัยทิพย์ ถนนดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

โทร. 02-245-9560, 02-248-3087

อีเมล: st.santofire@gmail.com

Line: @santofire

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า