NFPA คืออะไร ทำความรู้จักกับสมาคมป้องกันอัคคีภัยและมาตรฐาน NFPA

NPFA คืออะไร

NFPA คืออะไร มีที่มาอย่างไร

NFPA ย่อมาจาก National Fire  Protection Association ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1896 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร NFPA มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันอัคคีภัยและลดความสูญเสียต่ออัคคีภัยให้มากที่สุด ในปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองควินซี รัฐแมตซาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภารกิจหลักของ NFPA คือการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยโดยพัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจริงจากอัคคีภัย อีกทั้งยังมีงานวิจัย จัดตั้งการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน และการศึกษาเกี่ยวกับอัคคีภัย การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัย ทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มคุณภาพชีวิตประชากรโลกให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของสาธารณชน และเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ในองค์กรมีสมาชิกมากกว่า 81,000 ราย โดยข้อกำหนดมาตรฐาน NFPA ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะทางอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ การก่อสร้าง และการจัดการอาคารต่าง ๆ 

ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีและอยู่มาแล้วร่วมร้อยปี แต่มาตรฐาน NFPA ก็ยังมีการทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานมาตลอดอย่างน้อย 5 ปีครั้ง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน 

รหัสและมาตรฐาน NFPA ที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัยมีอะไรบ้าง

NPFA แต่ละรหัส

มาตรฐาน NFPA ระบบดับเพลิงถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความเป็นสากล เข้าใจได้ง่าย และสามารถเห็นได้ง่ายในสถานการณ์จริง โดยใช้รหัสโค้ด (Code) และสีต่าง ๆ 

ในปัจจุบันองค์กร NFPA ได้ออกรหัสและมาตรฐานความปลอดภัยมามากกว่า 300 ประเภทซึ่งจะครอบคลุมแทบจะทุกสถานที่ ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย ห้องปฏิบัติการ การบริการ การออกแบบและติดตั้ง และอื่น ๆ อีกมากมาย 

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรหัสและมาตรฐาน NFPA ที่มักและอาจพบเจอในชีวิตประจำวัน ดังนี้

  • NFPA 1 คือ รหัสที่เกี่ยวข้องกับไฟ เพิ่มความปลอดภัยในการดับเพลิงและการเอาชีวิตรอดสำหรับประชาชน ตลอดจนการป้องกันทรัพย์สินด้วยการจัดหาแนวทางที่ครอบคลุม
  • NFPA 2 คือ รหัสของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฮโดรเจน
  • NFPA 3 คือ มาตรฐานว่าด้วยการนำมาใช้ของระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัยในชีวิต
  • NFPA 4 คือ มาตรฐานสำหรับการป้องกันอัคคีภัยแบบรวมและการทดสอบระบบความปลอดภัยในชีวิต
  • NFPA 10 คือ มาตรฐานสำหรับถังดับเพลิงแบบพกพา เช่น ถังดับเพลิงติดตั้งภายในอาคาร ถังดับเพลิงติดรถยนต์ เพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงพกพาจะสามารถใช้งานได้จริง และเพื่อเป็นแนวป้องกันแรกเมื่อเกิดอัคคีภัยขนาดเล็ก
  • NFPA 11 คือ มาตรฐานสำหรับการขยายของโฟมในระดับ ต่ำ,กลาง และสูง
  • NFPA 20 คือ รหัสเกี่ยวกับระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
  • NFPA 30 คือ รหัสของของเหลวไวไฟและติดไฟได้ รหัสนี้มีเพื่อลดอันตรายจากการจัดเก็บ การใช้งานของเหลวไวไฟหรือติดไฟได้
  • NFPA 70 คือ มาตรฐานไฟฟ้าแห่งชาติ (National Electrical Code : NEC) เป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการใช้งานกว่า 50 รัฐ
  • NFPA 72 คือ สัญญาณเตือนอัคคีภัยแห่งชาติและรหัสสัญญาณ ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านความปลอดภัย เพื่อให้สัญญาณเตือนภัยสามารถตรวจจับสัญญาณไฟและแจ้งเตือนในกรณีฉุกเฉินได้จริง และในข้อนี้ยังมีข้อกำหนดถึงระบบแจ้งเตือนสำหรับเหตุฉุกเฉินร้ายแรง เช่น เหตุฉุกเฉินทางอากาศ การก่อการร้าย เหตุฉุกเฉินทางชีวภาพ เคมี และนิวเคลียร์และภัยคุกคามอื่น ๆ 
  • NFPA 101 คือ รหัสความปลอดภัยในชีวิต เป็นรหัสสำหรับวางกลยุทธ์ป้องกันภัยเพื่อลดผลกระทบจากอัคคีภัยให้เหลือน้อยที่สุด 
  • NFPA 704 คือ ระบบมาตรฐานสำหรับการระบุอันตรายของวัตถุและสำหรับการรับมือแบบฉุกเฉิน ซึ่งระบบนี้ออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว โดยสัญลักษณ์ของ NFPA 704 จะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และภายในจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่อง 4 สี และจะมีตัวเลขที่แตกต่างกัน โดยแต่ละช่องมีความหมายดังนี้

ช่องสีแดง บอกถึงความไวไฟของวัตถุ ตัวเลขมีตั้งแต่ 0-4 เลข 0 คือวัตถุไม่ติดไฟ และตัวเลขที่สูงขึ้นยิ่งบ่งบอกว่าวัตถุมีความไวไฟและติดไฟง่ายขึ้น

ช่องสีน้ำเงิน บอกถึงอันตรายต่อสุขภาพ หากสัมผัสหรือสูดดม ตัวเลขมีตั้งแต่ 0-4 เลข 0 คือไม่มีอันตรายในสภาวะปกติ และตัวเลขยิ่งสูงยิ่งมีความอันตรายต่อสุขภาพมาก

ช่องสีเหลือง บอกถึงการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี วัตถุนั้น ๆ มีความเสถียรหรือเกิดปฏิกิริยาง่ายแค่ไหน ตัวเลขมีตั้งแต่ 0-4 เลข 0 คือวัตถุมีความเสถียร และตัวเลขยิ่งสูงยิ่งเกิดปฏิกิริยาง่าย

ช่องสีขาว แสดงถึงความเป็นอันตรายรูปแบบอื่น ๆ เช่น การกัดกร่อน ความเป็นกรดด่าง ความเป็นพิษ กัมมันตรังสี เป็นต้น

  • NFPA 921 คือ คู่มือการสืบสวนเพลิงไหม้และการระเบิด ใช้เป็นข้อกำหนดในการสืบสวนและวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอัคคีภัยเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ข้อกำหนดนี้เพื่อใช้สำหรับสืบคดี การสืบสวนสอบสวน รวมไปถึงบริษัทประกันภัย เพื่อใช้ในการดำเนินคดี
  • NFPA 1001 คือ คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับนักดับเพลิงมืออาชีพ
  • NFPA 1123 คือ รหัสสำหรับการส่งสัญญาณโดยใช้ดอกไม้ไฟ
  • NFPA 1600 คือ มาตรฐานความต่อเนื่อง, ภาวะฉุกเฉินและการจัดการภาวะวิกฤต
  • NFPA 1670 คือ มาตรฐานการดำเนินงานและการฝึกอบรมสำหรับการค้นหาทางเทคนิคและเหตุการณ์ช่วยเหลือ
  • NFPA 1901 คือ มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ในการดับเพลิงที่เกี่ยวกับยานยนต์
  • NFPA 1979 คือ มาตรฐานชุดดับเพลิงภายในอาคาร

มาตรฐาน NFPA ในภาคอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

มาตรฐาน NFPA ในภาคอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

เพราะในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสถานที่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่แทบจะตลอดเวลาจึงมีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารเคมีไวไฟ หรือเป็นโรงงานผลิตสารเคมี ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ได้ง่ายมาก 

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย และการลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดจึงจำเป็นต้องมีการนำมาตรฐาน NFPA มาใช้ เพื่อให้บุคลากรได้เห็นและเข้าใจถึงอันตรายของอัคคีภัย และเพิ่มความระมัดระวังในการปฏิบัติงานมากขึ้น โดยสัญลักษณ์ NFPA ที่เรามักพบในโรงงานมักจะเป็นรหัสเกี่ยวกับประเภทของไฟ และมีการกำหนดโดยใช้สัญลักษณ์เป็นรหัสตัวอักษรและสี ดังนี้

  • เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) สัญลักษณ์ตัวอักษร A อยู่ในรูปสามเหลี่ยมพื้นสีเขียว ไฟประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงประเภทไม้ กระดาษ พลาสติกที่ติดไฟได้ 
  • เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids)  สัญลักษณ์ตัวอักษร B อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมพื้นสีแดง ไฟประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงกลุ่มของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมันทุกชนิด 
  • เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) สัญลักษณ์ตัวอักษร C อยู่ในรูปวงกลมพื้นสีฟ้า ไฟประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร 
  • เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) สัญลักษณ์ตัวอักษร D อยู่ในรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง ไฟประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะ 
  • เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking) สัญลักษณ์ตัวอักษร K อยู่ในรูปหกเหลี่ยมสีดำ ไฟประเภทนี้เป็นไฟที่เกิดจากน้ำมัน ไขมันสัตว์ ของเหลวที่ใช้ในครัวเพื่อการประกอบอาหาร

จะเห็นได้ว่าเพลิงไหม้เองก็มีหลายประเภทจากแหล่งกำเนิดเพลิงไหม้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นทำให้การดับเพลิงนั้นจำเป็นต้องมีหลายประเภทเพื่อใช้จัดการกับเพลิงไหม้เหล่านี้ 

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด

ถังดับเพลิงกับประเภทของไฟ

มาตรฐาน NFPA ยังมีอีกหลายรหัสและข้อกำหนดมาก แต่ในบทความนี้จะขอหยิบมาเพียงแค่ที่พบเจอได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ความรู้พื้นฐานนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้สามารถรับมือกับเหตุอัคคีภัยและเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

SANTO FIRE เรามีถังดับเพลิง อุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลจำหน่าย รับประกันคุณภาพสินค้าระกับสากล อีกทั้งเรายังมีบริการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ประตูหนี้ไฟ ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยให้กับบุคคลทั่วไป คอนโดมิเนียม โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสูง 

นอกจากนี้เรายังมีศูนย์ฝึกดับเพลิงที่มีครูฝึกและวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับอัคคีภัย เพื่อให้บุคคลทั่วไป บุคลากรองค์กรต่าง ๆ ได้มีความรู้ความเข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ในการปกป้องและป้องกันชีวิตและทรัพย์สินให้ดีที่สุด หากสนใจและต้องการคำปรึกษาติดต่อเราได้ที่ 

บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด    

Tel.  02-245-9560, 02-248-3087   

Fax : 02-246-6859   

Email:  st.santofire@gmail.com

One thought on “NFPA คืออะไร ทำความรู้จักกับสมาคมป้องกันอัคคีภัยและมาตรฐาน NFPA

  1. พีระพงษ์ says:

    สอบถามอายุงานของ Heat & Smoke Detector มีกำหนดไว้อย่างไรครับ
    10 ปี หรือ 20ปี ขึ้นต้องเปลี่ยนใหม่ ถ้าปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้ปกติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า