อุปกรณ์ดับเพลิงทุกชนิด จะต้องทำการทดสอบความปลอดภัยด้วย hydrostatic test ทุกครั้งก่อนทำการจัดจำหน่ายสินค้าสู่มือลูกค้าอยู่เสมอ แล้วมาตรฐานการทํา hydro test คืออะไร? มีขั้นตอนการชี้วัดผลจากปัจจัยใดบ้าง? บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด จะมาอธิบายหลักการทำ hydrostatic test ว่ามีขั้นตอนกระบวนการทดสอบอย่างไรบ้าง
hydrostatic test คืออะไร
การทำ hydrotest คือ การวัดความสามารถแรงดันของเหลวในภาชนะจำพวก ถังแก๊ส ท่อประปา หรือหม้อไอน้ำ มีส่วนประกอบเป็นน้ำจืดสะอาดผสมกับคลอรีนไม่เกิน 50 ppm. ช่วงการทำทดสอบระบบภายในท่อ ต้องติดเทปเชื่อมปิดระหว่างขันเกลียว และขันน็อตสนิทมิดชิด
โดยจุดประสงค์การทำการทํา hydrostatic test เป็นการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ใช้ สามารถควบคุมแรงดันน้ำภายใต้แรงกดดันสูง-ต่ำได้ตามที่กำหนด
ขั้นตอนการทํา hydrostatic testing มีวิธีการทดสอบอย่างไร
โดยทั่วไป ขั้นตอนการทํา hydrostatic testing รูปแบบสากล มี 5 ขั้นตอนดังนี้
- ภาชนะที่ถูกทำการทดสอบ hydrostatic test จะต้องปิดท่อวาว์ลทั้งหมด และรวมถึงระบบนิรภัยแบบระบาย (Safety relieve valve) ในบริเวณด้านบนของภาชนะให้สนิทเรียบร้อย
- ตรวจเช็คสภาพภาชนะกายภาพโดยรวมว่า มีบริเวณภายนอกส่วนไหนมีสภาพผุดกร่อนก่อนเริ่มhydrostatic test
- เติมของเหลว 2 ประเภทได้แก่ น้ำที่มีส่วนประกอบของน้ำจืด ผสมร่วมกับสารคลอรีนในปริมาณไม่เกิน 50 pmm. และของไหล (Fluid Mechanics) เป็นตัวกลางนำแรงดันน้ำ ที่อัดความดันสูง 1.5 เท่า เข้าสู่ภาชนะ
- เริ่มมาตรฐานการทํา hydro test ในระยะเวลา 30 นาที โดยระหว่างการทดลอง ผู้ทดสอบค้นหาจุดรอยรั่วซึมของภาชนะภาพรวมทั้งหมด หากเกิดส่วนใดที่เกิดการรั่วซึมจะทำการยกเลิกทันที แต่หากไม่เกิดความผิดปกติของภาชนะ ผู้ทดลองจะทำการลดแรงดันให้ต่ำลง
- เมื่อการทดลอง hydrostatic test ท่อดับเพลิงมีสภาพการรับแรงดันได้ปกติ ให้ทำการปลดล็อกท่อวาวล์ให้อยู่ในค่าที่กำหนด แล้วทดสอบ hydrostatic test อีกครั้งว่าสามารถรับแรงดันสูงสุดได้เท่าไหร่
ค่าที่ต้องจดบันทึกเมื่อทำการทดสอบ hydro test
การชี้วัด hydrostatic test ท่อแต่ละส่วนภายในภาชนะ มี 4 ค่าดังนี้
- ชนิดท่อแต่ละประเภท ตั้งแต่การตรวจเช็ควัสดุ คุณสมบัติ เกรดคุณภาพของตัวอะไหล่
- ค่าแรงดันที่ทำการ hydrostatic test แต่ละครั้ง
- ค่าของสารของไหลที่ถูกบรรจุข้างใน
- ชื่อผู้ที่รับรอง Calibrated Pressure Gauge
มาตรฐานการทํา hydro test
หลักการดำเนิน hydrostatic test ให้ถูกตามกฎหมาย ต้องประกอบไปด้วย นักวิศวกรประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และภาชนะที่รองรับแรงดันตามสากล
ข้อควรระวังในการทดสอบ hydrostatic test
การดำเนินทดสอบ hydrostatic test ต้องดำเนินเป็นขั้นบันไดทีละ Bar เพื่อป้องกันปฏิกิริยา Shock load ภาชนะเกิดการรั่วไหลฉับพลัน โดยเริ่มต้นจะกำหนดBarแรงดันปกติ ไต่ระดับ Bar ความดันใช้งาน จากนั้นทิ้งไว้ชั่วครู่พร้อมดูสภาพภาชนะเกิดปรากฎการณ์รั่วไหลหรือไม่ หากการทดลองอยู่ในสถานการณ์ปกติ ให้ไต่ระดับขึ้นไปBarความดันออกแบบ และสุดท้ายไล่ระดับไปที่Barความดันทดสอบ แล้วเริ่มจับเวลา หากจุดที่ภาชนะสามารถรองรับแรงดันได้โดยไม่มีปัญหา ขั้นตอนการลดแรงดันควรทำแบบลดขั้นบันไดเหมือนกับการทดสอบ hydrostatic test ช่วงต้นเช่นเดียวกัน
สิ่งที่ควรทำหลังการทดสอบ hydrostatic test
เมื่อทดลองความสามารถแรงดันของเหลวจาก hydrostatic test เสร็จสิ้นทั้งหมด ให้ผู้ทดลองวัดความหนาแน่นตัวภาชนะที่ถูกรับแรงดันภายใน ด้วยอุปกรณ์วัดความหนา UTM (Ultrasonic Thickness Measurement) ตั้งแต่ตัวถัง (Shell) , หัวถัง (Head) แล้วเอาค่าวัดแรงดันจริง นำไปเปรียบเทียบกับค่าคำนวณตามแบบของถังเก็บและจ่าย โดยเฉลี่ยแล้วค่าจากการวัดจริงต้องได้ไม่น้อยกว่าค่าการคำนวณตามแบบของถังเก็บและจ่าย
บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด เรามีบริการทดสอบ hydrostatic test ที่การันตีความปลอดภัยในระหว่างการทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยินดีทดสอบภาชนะชนิดถังดับเพลิง ถังอัดอากาศ SCBA และ ภาชนะบรรจุแรงดันอื่นๆ ด้วยการทดสอบ hydrotest ตามรูปแบบสากล ภายใต้การควบคุมทีมวิศวกรแบบมืออาชีพ มีใบประกอบวิชาชีพแน่นอน พร้อมออกใบ Certificate รับรองตามกฎหมายไทย
นอกจากนี้เรายังมีบริการ รับติดตั้งระบบ fire alarm , ประตูหนีไฟ และให้คำปรึกษาอุปกรณ์ดับเพลิงทุกประเภทได้อย่างครบวงจร สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560 , 02-248-3087