รูปแบบมาตรฐานป้ายทางหนีไฟตามกฎหมายนั้น จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือจัตุรัส และจะใช้สีเขียว และสีขาวเท่านั้น เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานระดับสากล และในป้ายทางหนีไฟนั้นจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ รูปคน ลูกศรชี้ทางออก หรือตัวหนังสือข้อความ Exit หรือทางออก
ป้ายทางหนีไฟนั้น เป็นป้ายทางออกฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ใช้สื่อสารกับผู้ใช้อาคารให้ไปตามทิศทางที่ไปสู่ทางหนีไฟ และออกสู่ภายนอกอาคารได้ ในเมื่อเกี่ยวกับความปลอดภัยของคนหมู่มาก จึงมีข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎหมายป้ายทางหนีไฟเข้ามาควบคุมคุณภาพ ขนาด ของป้ายทางหนีไฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน วสท. และ มยผ. เพื่อให้ใช้งานได้ประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
ขนาดมาตรฐานป้ายทางหนีไฟ
ป้ายทางหนีไฟ คือป้ายที่ใช้ข้อความหรือสัญลักษณ์บ่งบอกเส้นทางออก เผื่อในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุเพลิงไหม้ ผู้อยู่ภายในอาคารจะได้อพยพหนีภัยออกจากอาคารได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยมากที่สุด อีกทั้งการดำเนินการติดตั้งป้ายทางหนีไฟในอาคารสถานที่ต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่ว่าจะติดตั้งกันตามแต่สะดวก
เพราะทุกจุดติดตั้งจะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดเรื่อง รูปแบบ และขนาดของป้ายทางหนีไฟให้ตรงตามกฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานของป้ายทางหนีไฟตามกฎหมายจะแบ่งตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่
ขนาดป้ายทางหนีไฟตามมาตรฐาน วสท. และ สมอ.
ขนาดมาตรฐานป้ายทางหนีไฟตามข้อบังคับตามกฎหมาย ต้องมีความสูงมาตรฐาน 10 เซนติเมตร ความกว้างของป้ายอย่างต่ำอยู่ที่ 14.14 เซนติเมตร ความสูงของขอบด้านบนที่ 2.5 เซนติเมตร ความกว้างขอบข้าง ๆ 4 เซนติเมตร โดยความกว้างขอบแบ่งกลางอยู่ที่ 5 เซนติเมตร และมีสัญลักษณ์คนในป้ายทางหนีไฟขนาด 15×18 ซม.
นอกจากป้ายทางหนีไฟขนาด 10 ซม. แล้วยังมีอีก 2 ขนาด คือ 15 และ 20 ซม. และก็ปรับอัตราส่วนในจุดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมขนาดของรูปและตัวหนังสือสูงไม่เกิน 10 ซม. และเหมาะใช้กับอาคารสถานที่ พื้นที่ขนาดเล็ก
ขนาดป้ายทางหนีไฟตามมาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.)
ขนาดทุกด้านของป้ายทางหนีไฟตามกฎหมายมาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) นั้น จะมีด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา ต้องห่างจากตัวอักษรและสัญลักษณ์ภายในป้ายไม่น้อยกว่า 25 มม. ในขณะที่ระยะห่างระหว่างตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่า 10 มม. รวมถึงมีข้อกำหนดเรื่องความหนาของตัวอักษรทั้งไทยและอังกฤษไม่น้อยกว่า 10 มม. และลูกศรก็ต้องห่างจากสัญลักษณ์ไม่น้อยกว่า 25 มม.
ขนาดรูปและตัวหนังสือต้องใหญ่ไม่น้อยกว่า 15 ซม. เพื่อที่จะได้สังเกตเห็นได้ง่าย เหมาะกับสถานที่ประเภท โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า โกดัง เป็นต้น
ขนาดป้ายทางหนีไฟตามกฎกระทรวง
ขนาดป้ายทางหนีไฟตามกฎกระทรวง จะขึ้นกับจำนวนและขนาดขององค์ประกอบภายในป้าย โดยที่ขนาดของป้ายจะเริ่มที่ 15 x 18 ซม. ที่องค์ประกอบภาพ 1 ชิ้น ขนาดขององค์ประกอบ 10 ซม. และปรับเพิ่มไปตามจำนวนและขนาดขององค์ประกอบ หลักเกณฑ์ที่นำมาพิจารณาขนาดของป้ายคือระยะห่างที่สุดระหว่างป้ายกับผู้ที่อยู่ภายในอาคาร ซึ่งจะมีผลต่อความชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- ถ้าระยะห่างจากป้าย 48 เมตร ขนาดขององค์ประกอบอย่างน้อย 20 ซม. และขนาดของป้ายคือ 28 x 32 ซม. กรณีองค์ประกอบภาพ 1 ชิ้น
- กรณีองค์ประกอบภาพ 2 ชิ้น ขนาดของป้ายคือ 28 x 60 ซม.
ข้อกำหนดการติดตั้งป้ายทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน
นอกจากขนาดของป้ายทางหนีไฟที่ต้องได้มาตรฐานแล้ว การติดตั้งก็ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะหากหน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษตามมา ก็เพื่อว่าเป็นการเสริมสร้างความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับผู้ที่อยู่ในอาคารเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เป็นการลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
หากติดตั้งเหนือประตู หรือตามทางเดิน ควรมีระยะสูงที่ 2 – 2.7 เมตร และในป้ายไม่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ลูกศรในป้ายก็ได้ แต่เมื่อใดที่จำเป็นต้องมีป้ายติดเป็นระยะ จากจุดที่ไม่ได้อยู่ใกล้ประตูหรือทางออก ก็จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ลูกศรกำกับทิศทางด้วย
สำหรับตัวป้ายนั้นหากว่ามีขอบป้าย สีก็ต้องเป็นสีขาวโปร่งแสงต่อเนื่องทั้ง 4 ด้านและขนาดพื้นที่รวมกันไม่เกิน 20% ของขนาดป้ายทางหนีไฟซึ่งไม่รวมพื้นที่ของขอบป้าย
รูปแบบป้ายทางหนีไฟที่ได้มาตรฐาน
ป้ายทางหนีไฟที่ได้มาตรฐานนั้น จะบ่งบอกเส้นทาง หรือทางออกให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารทราบว่ามีทางออกฉุกเฉินที่ช่วยสร้างความปลอดภัยต่อผู้ที่อยู่ภายในอาคารทุกคนได้ ในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ป้ายควรมีรูปทรงสี่เหลี่ยม มีแสงสว่างในตัว สีพื้นของป้ายจะเป็นสีเขียว ในขณะที่ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์บนป้ายจะเป็นสีขาว ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายแม้จะอยู่ในระยะไกลก็ตาม มีข้อกำหนดกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับป้ายหนีไฟดังนี้
- ขนาดของป้ายต้องชัดเจน ตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น
- ความสูงในการติดตั้งตามที่ระบุไว้แล้ว
- มีระบบแสงสว่างในตัว และต่อเนื่องแม้ว่ากระแสไฟฟ้าจะดับเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 120 นาที
- รูปสัญลักษณ์ของป้าย ขนาดของป้ายต้องใหญ่กว่าองค์ประกอบ เช่น ถ้าองค์ประกอบขนาด 10 ซม. ความสูงของพื้นป้ายทั้งด้านบนและด้านล่างต้องห่างจากองค์ประกอบ 2.5 ซม. ส่วนความกว้างด้านซ้าย/ขวาอยู่ที่ 4 ซม.
- ตำแหน่งการติดตั้ง ซึ่งมีผลต่อความชัดเจน ควรติดเหนือประตูทางออก หากมีติดเป็นระยะ ๆ โดยตำแหน่งที่ห่างประตูที่สุด คือ 24 ม. 36 ม. 48 ม. สำหรับป้ายทางหนีไฟขนาด 10 ซม. 15 ซม. 20 ซม. ตามลำดับ
- ลักษณะของระบบไฟฟ้า ควรติดตั้งระบบไฟที่มาจากแหล่งไฟฟ้าปกติ แยกวงจรจากระบบอื่นเพื่อสามารถทดสอบได้สะดวก และมีแบตเตอรี่สำรองไฟ สายไฟฟ้าที่ใช้เพื่อต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้าควรเป็นชนิดทนไฟ แล้วร้อยใส่ไว้ในท่อที่ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชม. ขนาดของสายไฟไม่น้อยกว่า 2.5 ตรมม. และแรงดันไฟต้องไม่ตกเกินร้อยละ 5
การตรวจสอบมาตรฐานป้ายทางหนีไฟ
การตรวจสอบป้ายทางหนีไฟนั้น ควรต้องมีการจดบันทึกระบุผลการตรวจ ผู้ตรวจและวันที่ไว้ ให้สามารถดูและตรวจสอบได้ทุกเมื่อ
ป้ายทางหนีไฟนั้น ต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบ โดยจำลองความล้มเหลวของระบบจ่ายไฟฟ้าปกติต้องส่องสว่างได้ตามพิกัดที่กำหนดและไม่น้อยกว่า 120 นาที และถ้าหากป้ายทางหนีไฟมีสวิตช์ถ่ายโอนเมื่อได้ติดตั้งใช้งานในระบบ ก็ต้องทดสอบโดยการตัดหรือยกเลิกการทำงานของสวิตช์ไฟฟ้าเพื่อแสดงว่าป้ายทางหนีไฟยังคงส่องสว่าง
การตรวจสอบการทำงานต้องทำการตรวจสอบทุกระยะ 3 เดือนเพื่อทดสอบให้สำรองไฟนาน 60 นาที และหากแบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้นานถึง 60 นาที ในระหว่างการทดสอบ ระบบต้องมีสัญญาณแสดงความล้มเหลวของแบตเตอรี่
ในทุก 1 ปี ต้องมีการตรวจสอบการทำงานสำรองไฟไม่น้อยกว่า 90 นาที และประจุแบตเตอรี่ตามปกติจนเต็มและพร้อมใช้งาน
ทำไมต้องมีมาตรฐานสำหรับป้ายทางหนีไฟ
การที่มีหน่วยงาน เช่น วสท., มยผ. มาช่วยกำหนดรูปแบบป้ายทางหนีภัยให้ได้มาตรฐานนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อความปลอดภัยสำหรับอาคารต่าง ๆ ที่มีขนาดและโครงสร้างแตกต่างกันไป ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย
มยผ. ได้กำหนดมาตรฐานรูปแบบป้ายทางหนีไฟ และ วสท. กำหนดมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินทั้งหมดนี้ก็เพื่อกำหนดให้มีการใช้งานป้ายทางหนีไฟที่ใช้งานได้ผลจริง เห็นได้ชัด เอื้อต่อการอพยพผู้คนที่อยู่ในเหตุเพลิงไหม้ฉับพลันไม่ทันตั้งตัว ให้ออกมานอกอาคารได้อย่างปลอดภัย
สรุป
ป้ายทางหนีไฟตามมาตรฐานที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ สำคัญมากและส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานว่าทุก ๆ คนที่อยู่ภายในอาคารจะมีความปลอดภัยในชีวิตหากเกิดเหตุไฟไหม้ ทำให้การอพยพผู้คนเป็นไปอย่างมีระเบียบและถูกต้องไม่หลงทิศทาง
อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและตรวจสอบสภาพการทำงาน เพื่อให้ป้ายทางหนีไฟทำงานได้ดีอยู่เสมอ เพราะเหตุฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยไม่ทันคาดคิด
หากสนใจในอุปกรณ์ป้ายความปลอดภัย เช่น ป้ายทางหนีไฟ ก็สามารถเข้ามาปรึกษากับเชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลทั่วๆ ไป เช่น SANTO FIRE ได้ที่ เบอร์โทร 02-245-9560, 02-248-3087 หรือที่เว็บไซต์ของ SANTO FIRE
เนื้อหาในหน้านี้ ผิด นะครับ ปัจจุบัน มยผ ถูกยกเลิกไปแล้ว
ขอบคุณครับ ผมขอให้ทีมงานหาข้อมูลเพิ่มเติม และ อัพเดทข้อมูลใหม่ ครับ