ประเภทของไฟมีกี่ประเภท แบ่งอย่างไร ตามมาตรฐาน NFPA 10

ประเภทของไฟ

ภัยอันตรายจากไฟ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์อย่างเราไม่สามารถควบคุมความร้อนหรือแหล่งกำเนิดของไฟได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายกับชีวิต ทรัพย์สิน และ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเภทของไฟ จึงช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น เพราะประเภทของไฟจะมีความสัมพันธ์กับต้นเหตุของการเกิดไฟไหม้ ซึ่งมาจากวัสดุหรือสารที่มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้มนุษย์เราต้องรับมือกับเพลิงด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยส่วนหนึ่งมาจากความประมาทของมนุษย์เราที่ปล่อยปละละเลยจนส่งผลให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นมา เช่น การโยนมวนบุหรี่โดยที่ยังไม่ได้ดับไฟบุหรี่ให้เรียบร้อยดีลงไปในถังขยะ หรือ การไม่ใส่ใจดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งหากทุกคนอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของไฟ ทำไมการทิ้งมวนบุหรี่เล็กๆ ถึงส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้เกิดไฟได้ที่ องค์ประกอบของไฟ 

แล้วคุณรู้หรือไม่ ? ว่าไฟก็มีประเภทเช่นกัน โดยประเภทของไฟ ตามมาตรฐาน nfpa 10 แบ่งไฟออกเป็น 5 ประเภท ตามวัสดุที่เกิดการเผาไหม้เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกใช้ถังดับเพลิงที่เหมาะสมและการควบคุมเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ เรามาทำความรู้จักกับประเภทของไฟกัน เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นและเลือกใช้ถังดับเพลิงตามประเภทของไฟ 5 ประเภทอย่างมีประสิทธิภาพ

ไฟประเภท A (Class A)

ไฟประเภท a สามารถเกิดได้ภายในบ้านเรา เพราะมีต้นเหตุมาจากวัสดุจำพวก ไม้ ผ้า นุ่น

ประเภทของไฟ A เป็นประเภทของไฟที่มีสาเหตุมาจากวัสดุในกลุ่มเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่าย หรือ วัตถุของแข็งที่สามารถพบได้ตามอาคารที่พักอาศัย ร้านค้าต่างๆ โดยส่วนมากแล้วเป็นวัสดุที่ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อเพลิงที่พบได้ทั่วไป (Ordinary Combustibles) สามารถใช้น้ำเปล่าเข้าควบคุมการลุกลามและดับไฟประเภท a ได้

ซึ่งวัสดุที่เกิดการเผาไหม้และเป็นต้นเหตุของไฟประเภทนี้ ได้แก่ ไม้ กระดาษ ผ้า พลาสติก นุ่น เป็นต้น  โดยส่วนมากแล้ววัสดุประเภทนี้เมื่อติดไฟแล้วอาจเกิดการลุกลามจนทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้เช่นกัน หากพบว่าต้นเหตุของไฟ คือ วัสดุเชื้อเพลิงของไฟ Class A สามารถดับด้วยน้ำเปล่าได้ทันทีหรือเลือกใช้ถังดับเพลิงที่เหมาะสมเพื่อควบคุมไฟไม่ให้เกิดการลุกลามจนสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินอื่นๆ 

ไฟประเภท B (Class B)

 อุตสาหกรรมมีของเหลวและแก๊สติดไฟได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุของประเภท b

ประเภทของไฟที่เราจะแนะนำให้รู้จักต่อไป คือ ไฟประเภท B ซึ่งไฟประเภทนี้จะมีต้นเหตุจากสารที่มีคุณสมบัติสามารถติดไฟได้ในรูปแบบของเหลว และ แก๊ส (Flammable Liquids) โดยสารเหล่านี้มักมีส่วนประกอบของน้ำมันดิบ เบนซิน ที่สามารถพบได้ตามโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิง ทำให้ต้นเหตุของประเภทของไฟ Class B เป็นสิ่งที่ควรเฝ้าระวังอยู่เสมอ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณเชื้อเพลิงประเภทนี้จำนวนมาก อาจทำให้เพลิงไหม้ลุกลามทั่วบริเวณโดยรอบ

โดยตัวอย่างของกลุ่มสารที่เกิดการเผาไหม้จนเกิดไฟประเภท B ได้แก่ น้ำมันต่างๆ แอลกอฮอล์ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น ซึ่งวิธีที่ใช้ในการดับไฟประเภทนี้ได้ดีที่สุด คือ การลดปริมาณออกซิเจนในอากาศรอบๆ ด้วยผงเคมีหรือฟองโฟมที่ช่วยไล่ออกซิเจนออกจากบริเวณที่มีการเกิดเพลิงไหม้ ถึงจะสามารถดับเพลิงลงได้

ไฟประเภท C (Class C)

อุปกรณ์ไฟฟ้าคือสาเหตุของไฟประเภท c

ประเภทของไฟ C มีต้นเหตุมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้า (Electrical Equipment) ที่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ แต่เนื่องจากการทำงานของกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นเวลานานทำให้เกิดความร้อนขึ้น รวมถึงการเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน 

เพราะราคาที่ถูกกว่าโดยไม่สนใจคุณภาพของสินค้า ส่งผลให้ถ้าอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดการชำรุดจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของเพลิงไหม้ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันนั่นเอง 

โดยส่วนมากแล้วปัญหาของไฟ Class C สามารถเกิดได้กับทุกที่รวมถึงบ้านเรือนที่อยู่อาศัย จึงควรหมั่นเช็กสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เช่น ปลั๊กพ่วงที่มีการใช้งานค่อนข้างหนัก หม้อหุงข้าว เตาปิ้งย่างที่ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง เป็นต้น 

ซึ่งถ้าหากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่เกิดติดไฟขึ้นมา สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือ การตัดระบบไฟฟ้าก่อนจะเริ่มใช้ถังดับเพลิงจัดการดับไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่ 

ไฟประเภท D (Class D)

ไฟประเภท d มีต้นเหตุมาจากโลหะติดไฟในอุตสาหกรรมโรงงานและห้องทดลอง

อีกหนึ่งประเภทของไฟที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม คือ ไฟประเภท D โดยไฟประเภทนี้มีสาเหตุมาจากโลหะที่มีคุณสมบัติติดไฟได้  (Combustible Metals) ซึ่งโลหะประเภทนี้สามารถพบได้ทั่วไปตามโรงงานอุตสาหกรรม ห้องทดลอง และ ห้องปฏิบัติการของทีมค้นคว้าเกี่ยวกับโลหะ

โดยโลหะตัวอย่างที่มีคุณสมบัติติดไฟได้และทำให้เกิดไฟ Class D ได้แก่ แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น ข้อควรระวังเกี่ยวกับไฟประเภทนี้ คือ เราไม่สามารถดับไฟที่ลุกไหม้จากโลหะเหล่านี้ด้วยน้ำ (ห้ามใช้น้ำในการดับไฟเด็ดขาด) การดับไฟประเภทนี้จำเป็นต้องใช้สารเคมีเฉพาะทาง ทำให้เราควรจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโลหะและสารเคมีเฉพาะเพื่อรับมือหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา

ไฟประเภท K (Class K)

 น้ำมันภายในครัวเองก็เป็นสาเหตุของการเกิดไฟประเภท k

สุดท้ายเป็นประเภทของไฟที่เกี่ยวข้องกับครัวเรือน และ การประกอบอาหาร เราจะเรียกไฟที่ลุกไหม้จากของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร (Combustible Cooking) ว่า ไฟประเภท K ซึ่งโดยส่วนมากแล้วไฟประเภทนี้จะเกิดขึ้นตามห้องครัว ร้านอาหาร หรือ โรงแรมที่มีการประกอบอาหาร แล้วเกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้ของเหลวเหล่านี้ติดไฟขึ้นมา

โดยของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหารที่เป็นต้นเหตุของการเกิด ไฟ Class K ได้แก่ ไขมันสัตว์ที่ติดไฟได้ น้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น ถ้าหากเกิดไฟไหม้ที่มีต้นเหตุมาจากการทำอาหารควรใช้ถังดับเพลิงที่มีสารเคมีชนิดพิเศษ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อดับไฟที่มีต้นเหตุมาจากของเหลวเหล่านี้เพื่อควบคุมเพลิงโดยเร็ว เพราะการทำอาหารย่อมต้องมีการใช้งานเชื้อเพลิงจากถังแก๊ส ซึ่งถ้าไฟเกิดการลุกลามอาจเสี่ยงต่อการระเบิด

การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของไฟ nfpa ทั้ง 5 ประเภท นับว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเป็นอย่างมาก  เพราะเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับไฟประเภทต่างๆ นอกจากจะช่วยให้เราจำแนกประเภทของไฟ a b c d และ k ตามต้นเหตุของการเกิดอัคคีภัยได้แล้ว ยังช่วยให้เรารู้จักรับมือและเลือกใช้วิธีการดับเพลิงอย่างเหมาะสม 

หากอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดับเพลิงและถังดับเพลิงประเภทต่างๆ ว่าการใช้งานเหมาะสมกับประเภทของไฟตัวไหนบ้าง ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด

สรุป

การรู้จักประเภทของไฟและเลือกใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา

อัคคีภัย เป็นอันตรายร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งสาเหตุของการเกิดอัคคีภัย ส่วนหนึ่งมาจากความประมาทของมนุษย์เอง โดยปัจจุบันมีการแบ่งจำแนกประเภทของไฟ ตามมาตรฐาน nfpa (National Fire  Protection Association) โดยแบ่งประเภทของไฟ 5 ประเภท ตามสาเหตุของการเกิดเพลิง ซึ่งจัดกลุ่มด้วยอักษรย่อประเภทของไฟ a b c d และ k 

ประเภทของไฟแต่ละประเภททำให้อัคคีที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง จำเป็นต้องหาต้นตอการเกิดเพลิงไหม้เสียก่อน เพื่อการเลือกวิธีการดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงระมัดระวังเพลิงบางประเภทที่ไม่สามารถ ใช้น้ำเข้าดับไฟได้อย่างสุ่มสี่สุ่มห้า 

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการออกแบบถังดับเพลิงประเภทต่างๆ ที่ตอบโจทย์ในการดับไฟแต่ละประเภทแตกต่างกัน เพราะเราไม่สามารถใช้วิธีการราดน้ำเพื่อดับไฟทุกรูปแบบได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการคิดค้นถังดับเพลิงที่ช่วยดับไฟแต่ละประเภทอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

การใช้ถังดับเพลิงที่เหมาะสมกับไฟประเภทต่างๆ จะช่วยให้เราสามารถควบคุมการลุกลามของเพลิงได้ แต่หากเราใช้ถังดับเพลิงผิดประเภท หรือ เลือกใช้วิธีการดับเพลิงแบบผิดๆ เช่น สาดน้ำเข้าไปในไฟที่เกิดจากโลหะ ซึ่งจัดเป็นไฟประเภท D อาจก่อให้เกิดอันตราย ด้วยเหตุนี้เองเราจึงเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของไฟและถังดับเพลิง

หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากเกี่ยวกับประเภทของไฟจะเป็นประโยชน์กับทุกคน สำหรับใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์เกี่ยวกับการดับเพลิง ไม่ว่าจะเป็นถังดับเพลิงประเภทต่างๆ อุปกรณ์สำหรับการดับเพลิงทุกชนิดพร้อมติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย รวมถึงบริการฝึกอบรมดับเพลิง สามารถติดต่อขอคำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเรา Santo Fire ได้ที่ช่องทางติดต่อ

  • บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด

6/53-55 ซอยแสงอุทัยทิพย์ ถนนดินแดง แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

  • โทร  02-245-9560, 02-248-3087   

Email:  st.santofire@gmail.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า