อัคคีภัย คืออะไร การป้องกันและระงับไฟไหม้ ทำอย่างไร สาเหตุการเกิดอัคคีภัยเกิดจากอะไร

อัคคีภัยสาเหตุ

อัคคีภัย คืออะไร

อัคคีภัย คือ เหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นมาจากความไม่ได้ตั้งใจของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในภาวะลัดวงจร หรือจะเป็นความจงใจจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาป่า การลักลอบวางเพลิง ที่มีแรงจูงใจในการทำลายทรัพย์สินและชีวิต โดยเพลิงไหม้เป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถควบคุมให้สงบลงในเวลาสั้นๆ ได้ เนื่องจากแกนกลางความร้อนเป็นตัวลุกลาม หากมีกระแสลม เพลิงไหม้ก็จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัคคีภัยมีเพลิงหนุนมวลความร้อนอยู่ตลอดเวลา 

สาเหตุของอัคคีภัย เกิดจากอะไร

สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอัคคีภัยมากที่สุด? โดยหลักๆจะมี 8 เหตุการณ์ที่นำไปสู่เหตุไฟไหม้ ดังนี้

  • การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานเกินไป ทำให้ตัวเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มีความร้อนสูง (Overheat) กระแสไฟฟ้าวิ่งรั่วไหลนำไปสู่ เหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร

     

  • การใช้สายไฟอุปกรณ์เสียบกับเต้าเสียบรางเดียวกันหลายตัว 

     

  • การเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ในขณะทำอาหารเป็นเวลานาน

     

  • วาล์วแก๊สถังหุงต้มปิดไม่สนิท ทำให้แก๊สรั่ว เป็นสารที่ไวไฟได้ง่าย 

     

  • เต้ารับติดผนังเกิดไฟฟ้ารั่วไหล เพราะเป็นอุปกรณ์ที่วิ่งกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา

     

  • การจัดเก็บวัสดุไวไฟไม่เรียบร้อย ตัววัสดุชำรุดหรือรั่วไหล ทำให้เกิดชนวนอัคคีภัยขึ้นมา

     

  • ภัยธรรมชาติ เช่น สภาพชั้นบรรยากาศที่ปนเปื้อน ฟ้าผ่า หรือพายุ

     

  • มนุษย์ที่กระทำการก่อเหตุเพลิงไหม้โดยไม่ได้ตั้งใจ และตั้งใจ เช่น การวางเพลิง ระเบิด เป็นต้น

แหล่งกำเนิดอัคคีภัย มีอะไรบ้าง

แหล่งกำเนิดอัคคีภัยมีกี่ประเภท ที่เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดสาเหตุไฟไหม้ มีปัจจัยดังนี้

  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดการลัดวงจรขณะการใช้งาน

     

  • ประกายไฟจากการเสียดทานของเครื่องจักรไฟฟ้า

     

  • วัตถุมีความร้อนบรรจุในตัวอุปกรณ์สูง 

     

  • วัสดุไวไฟเกิดการสัมผัสกัน ทำให้เกิดสะเก็ดไฟ ประกายไฟ และเปลวไฟ ลุกไหม้ลามวัตถุต่อเนื่อง

     

  • ปฏิกิริยาของสารเคมีบางชนิด เมื่อสัมผัสกับน้ำหรืออากาศ จึงทำให้เกิดอัคคีภัย

     

  • ไอระเหยของก๊าซที่ปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศ เช่น โซเดียม (Sodium) โพแทสเซียม (Potassium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ก่อให้เกิดการเผาไหม้ตกลงสู่พื้นโลก

     

  • การสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ นำไปสู่มลภาวะอากาศ หรือผู้สูบไม่ทำการดับบุหรี่ให้เรียบร้อย จึงมีประกายไฟในก้นบุหรี่หลงเหลืออยู่

     

  • วัสดุเกิดภาวะการเผาไหม้กันเอง เช่น ถ่านหินเกิดความร้อนจนเกิดการเผาไหม้ หรือ กองขยะแห้งอยู่กระจุกเป็นกองใหญ่

     

  • อุปกรณ์ที่บรรจุแก๊สมีส่วนที่รั่วไหล และชำรุด

     

  • ไฟฟ้าสถิตบนพื้นผิวของวัสดุ หรือผิวกายมนุษย์ เกิดประจุไม่สมดุลของไฟฟ้า

แนะนำ อุปกรณ์ดับอัคคีภัยแบบไหน? สามารถดับเพลิงประเภทใดได้บ้าง? อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด

องค์ประกอบไฟ

โดยทั่วไป ส่วนประกอบของไฟหลัก ๆ มี 3 อย่าง ดังนี้

  • เชื้อเพลิง (Fuel)  วัสดุที่เป็นชนวนการเกิดเผาไหม้ 

     

  • ความร้อน (Heat) ไอกระแสลมร้อนเป็นตัวลุกลามเกิดกระแสลมเชื้อเพลิงต่อเนื่อง

     

  • ออกซิเจน (Oxygen) ยิ่งมีมวลออกซิเจนมากเท่าไหร่ตัวอัคคีภัยจะขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น

หากสามารถตัดวงจรอัคคีภัย 1 ใน 3 ขององค์ประกอบของไฟไปได้ จะช่วยทำให้การเผาไหม้สลายออกไป 

อันตรายจากไฟไหม้

การเกิดไฟไหม้มีอะไรบ้าง ที่ส่งผลอันตรายได้ถึงชีวิต จึงมี 2 ประเด็น ได้แก่

ความมืด

เหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยส่วนใหญ่ จะมาจากความมืดในช่วงกลางคืน หรือภายในอาคาร เพราะไฟฟ้าในตึกถูกตัดการใช้งานอัตโนมัติ ทำให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าและข้างหลังได้ 

แก๊สพิษและควันไฟ

เมื่อความมืดจากการเกิดอัคคีภัยจะมาพร้อมกับควันไฟ ที่มีส่วนผสมของแก๊สพิษ 4 ก๊าซแฝงตัวในควันเพลิงไหม้ ได้แก่

  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide : CO) เมื่อสูดเข้าไปจะไม่มีกลิ่น จะทำปฏิกิริยากับระบบอวัยวะร่างกายมนุษย์ การสูดดมก๊าซชนิดนี้ไปในปริมาณเล็กน้อยจนถึงปานกลาง จะทำให้ปวดศีรษะรุนแรง ตามัว คลื่นไส้จนไปถึงอาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ระบบหายใจและหัวใจทำงานติดขัด นำไปสู่ภาวะช็อก หมดสติ นำไปสู่การเสียชีวิตได้ 

     

  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide : NO2) เมื่อสูดเข้าไปจะมีกลิ่นเหม็นฉุน ตัวก๊าซจะทำปฏิกิริยากับน้ำในระบบหายใจ แล้วสร้างสารอนุมูลอิสระ สร้างการระคายเคืองเซลล์ปอด การสูดดมก๊าซชนิดนี้ไปในปริมาณมาก อาจทำให้หลอดลมฝอยอุดตัน ขาดออกซิเจนหล่อเลี้ยงจนเสียชีวิตไปได้

     

  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide : SO2) เมื่อสูดเข้าไปจะมีกลิ่นเหม็นฉุนรุนแรง ตัวก๊าซจะทำปฏิกิริยากับน้ำในระบบหายใจ ทำให้อวัยวะส่วนปอดอักเสบเรื้อรัง ยิ่งสูตรดมก๊าซชนิดนี้ในปริมาณสูง อาจทำให้ประสาทสัมผัสการดมไม่รับกลิ่น หากสัมผัสกับดวงตาจะนำไปสู่ภาวะระคายเคืองรุนแรง

     

  • ก๊าซโอโซน (Ozone : O3) เมื่อสูดเข้าไปจะมีกลิ่นสารคลอรีน (Chlorine) ตัวก๊าซจะทำปฏิกิริยากับกล้ามเนื้อระบบหายใจให้เกิดการติดเชื้อ การสูดดมก๊าซชนิดนี้เข้าไปในปริมาณมาก ก่อให้เกิดการระคายเคืองช่วงคอ หายใจลำบาก ไอ หอบหืด ส่งผลให้การเจริญเติบโตของระบบหายใจมีการทำงานผิดปกติ

ผลกระทบที่เกิดจากอัคคีภัย

เหตุการณ์อัคคีภัยนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรภายในพื้นที่มี 3 ผลกระทบ ดังต่อไปนี้

  • ทรัพย์สินคมนาคมบริเวณพื้นที่สาธารณะหรือลามไปยังเขตส่วนบุคคลที่เกิดอัคคีภัยเสียหาย อาจต้องใช้เวลาการบำรุงซ่อมแซมเป็นเวลานาน ทำให้ผู้คนเสียเวลา ดำเนินชีวิตลำบากมากขึ้น 

     

  • ทำลายแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบกิจการขาดทุน ลูกจ้างตกงาน และความต้องการสินค้าทางตลาดขาดช่วง ทำให้เกิดช่องโหว่ในระบบเศรษฐกิจ

     

  • สภาพจิตใจของผู้ประสบอัคคีภัย มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ ก่อให้เกิดภาวะขวัญเสีย หวาดกลัว มีอาการแพนิคเกี่ยวกับเพลิงไหม้รุนแรง (Pyrophobia)

การป้องกันและระงับความสูญเสียจากอัคคีภัย

การระงับการเกิดเพลิงไหม้เพื่อป้องกันการสูญเสียจากอัคคีภัย สามารถดำเนินการปฏิบัติ 8 วิธีการ ดังนี้

  • ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟ หรือเพลิงไหม้ ในห้องที่มีความไวไฟสูง เช่น ห้องครัว ห้องปฏิบัติการ ห้องเก็บของจำพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

     

  • การเลือกซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า การเดินสายไฟควรมีมาตรฐานการใช้งานที่ปลอดภัย

     

  • ปิดวาล์วให้เรียบร้อยหลังใช้งาน พร้อมตรวจสอบสภาพตัวบรรจุก๊าซให้เรียบร้อยก่อนเปิดใช้งาน

     

  • ถอดปลั๊กไฟจากเต้าเสียบ พร้อมปิดสวิตช์ไฟตัวเต้าหลังใช้งานเสร็จทุกครั้ง 

     

  • ควรมีถังดับเพลิงมือถือติดตั้งบนพื้นที่อาคารอย่างต่ำ 1 ตัวต่อ 1 โซน

     

  • ทุกห้องที่อยู่อาศัยควรมีหน้าต่างเปิดสำหรับขอความช่วยเหลือผู้คนข้างนอก

     

  • ทุกคนต้องจำหมายเลขเบอร์โทรเรียกหน่วยดับเพลิงให้ได้

     

  • เมื่ออยู่ในสถานการณ์ติดเหตุเพลิงไหม้ ให้ตามแสงประตูทางหนีไฟออกนอกอาคารให้เร็วที่สุด

ระยะการเกิดไฟไหม้

ระยะการเกิดเปลวเพลิงอัคคี แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 

ไฟไหม้ขั้นต้น

ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ใน 4 นาทีแรก สามารถยับยั้งด้วยการใช้ถังดับเพลิงมือถือฉบับเบื้องต้น

ไฟไหม้ขั้นปานกลาง

ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ใน 4 – 8 นาที จะมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 400 องศาเซลเซียส ต้องใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเสริมในการยับยั้งการเผาไหม้

ไฟไหม้ขั้นรุนแรง

ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ใน 8 นาทีเป็นต้นไป จะมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 600 องศาเซลเซียส ภายในพื้นที่มีเชื้อเพลิงคอยลุกลามอย่างต่อเนื่อง ควรหลีกหนีออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ต้องใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเสริมพิเศษในการยับยั้งเหตุอัคคีภัยรุนแรง

การเกิดเพลิงไหม้อัคคีภัย

สรุป

การอธิบายสาเหตุการเกิดไฟไหม้ ในบทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ พร้อมนำไปประยุกต์การเผชิญหน้าอัคคีภัยได้อย่างระมัดระวัง แต่หากอยากรู้วิธีการเอาตัวรอดจากสถานการณ์เหตุเพลิงไหม้ ทาง บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด มีบริการอบรมดับเพลิง เพื่อช่วยป้องกัน ระงับยับยั้งเหตุเพลิงไหม้ แนะนำอุปกรณ์ถังดับเพลิงแต่ละประเภท สำหรับการดับเพลิงอัคคีภัยทุกชนิดที่ครบเครื่องในที่เดียว 

ยินดีให้คำปรึกษาอุปกรณ์ดับเพลิงทุกประเภทได้อย่างครบวงจร ไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มก่อนใช้บริการ พร้อมมีบริการหลังขายเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าอุดหนุนบริการผลิตภัณฑ์ของเราได้อย่างมั่นใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการอบรมอัคคีภัย และอุปกรณ์ดับเพลิงไหม้ เพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 02-245-9560 , 02-248-3087

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า