องค์ประกอบของไฟ (elements of fire) มีอะไรบ้าง ไฟลุกไหม้ได้อย่างไร

การติดไฟ

องค์ประกอบของไฟมี 3 อย่าง คือ

ไฟ หรือ การเผาไหม้คืออะไร? ไฟ (Fire) คือ ปฏิกิริยาเคมีชนิดพิเศษที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ ซึ่งเราสามารถมองเห็นปฏิกิริยาดังกล่าวได้ในลักษณะพลังงานแสงสว่าง สามารถสัมผัส และรู้สึกได้ถึงพลังงานความร้อน โดยการเกิดไฟจะต้องมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบเรียกว่า สามเหลี่ยมของไฟ (the use of the fire triangle) หากขาดตัวการใดตัวการหนึ่งไปในสามเหลี่ยมของไฟก็จะไม่สามารถเกิดไฟขึ้นมาได้ แล้วองค์ประกอบของไฟ มีอะไรบ้าง มาดูกัน

เชื้อเพลิง (fuel)

เชื้อเพลิง คือ สิ่งของหรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว ก๊าซ เช่น ไม้ ใบไม้แห้ง ถ่าน กระดาษ น้ำมัน แอลกอฮอล์ โฟม พลาสติก เป็นต้น เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ที่ในเวลาที่เหมาะสม จนทำให้เกิดความร้อน และพร้อมลุกไหม้ขึ้นเป็นเปลวไฟ

ออกซิเจน (oxygen)

ออกซิเจน คือ อากาศที่อยู่รอบตัวเรา การที่เชื้อเพลิงจะสามารถลุกไหม้ได้นั้นจะต้องอาศัยการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนร่วมด้วย ปกติแล้วอากาศรอบๆ ตัวเราจะประกอบด้วยออกซิเจน 21 % และการทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิงซึ่งต้องอาศัยออกซิเจน

แล้วการเผาไหม้แต่ละครั้งต้องการปริมาณออกซิเจนอย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์? คำตอบคือการเผาไหม้แต่ละครั้งต้องใช้ปริมาณออกซิเจนถึง 16 % หากมีออกซิเจนต่ำกว่าจะไม่สามารถเกิดความร้อนจนลุกไหม้เป็นไฟได้ หรือในกรณีที่ไฟกำลังติดอยู่ ไฟก็จะค่อยๆ มอดดับลง

ความร้อน (heat) 

ความร้อนจะเป็นอุณหภูมิสูงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม จนสามารถทำให้เชื้อเพลิงจากวัตถุทั้งของเหลว ของแข็ง และก๊าซเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศ ถ้ามีความร้อนเพียงพอก็จะสามารถเกิดการลุกไหม้จนเป็นเปลวไฟได้

จุดวาบไฟ (Flash point) คืออะไร

จุดวาบไฟคืออะไร? จุดวาบไฟ คือ อุณหภูมิความร้อนที่ต่ำที่สุด เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนระเหยกลายเป็นก๊าซแล้วผสมกับอากาศ จนทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้น แต่จะไม่ลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง ไฟจะดับลงเมื่อไอระเหยหมดลง โดยจุดวาบไฟใช้สำหรับการแบ่งแยกประเภทสารเคมีไวไฟ (Flammable) สารติดไฟได้ (Combustible) และสารไม่ติดไฟ (Non-combustible) ซึ่งสารเคมีที่มีจุดวาบไฟอุณหภูมิต่ำ จะเป็นสารเคมีประเภทไวไฟ ส่วนสารเคมีที่มีจุดวาบไฟอุณหภูมิสูง จะเป็นสารเคมีประเภทติดไฟได้หรือไม่ติดไฟ

การเกิดไฟไหม้เกิดขึ้นได้อย่างไร

โดยการเกิดไฟไหม้นั้นมีที่มาจากองค์ประกอบการเกิดไฟทั้ง 3 อย่าง ซึ่งเมื่อเชื้อเพลิง อากาศ ความร้อน ทำปฏิกิริยารวมกัน หรือเรียกได้ว่าปฏิกิริยาลูกโซ่ ที่เชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนสามารถเกิดไอ มีอากาศอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมพอที่จะติดไฟ จนสามารถทำให้เกิดเปลวไฟลุกไหม้ได้ และปฏิกิริยาดังกล่าวทำการลุกไหม้วนเวียนเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ 

จุดวาบไฟ

ระยะการเกิดไฟไหม้มี 3 ขั้น

ในทุกครั้งที่เกิดอัคคีภัย ระดับความแรงของไฟจะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของการเกิดไฟ และระดับความรุนแรง ซึ่งระยะการเกิดไฟมีทั้งหมด 3 ขั้น ได้แก่

  • ไฟไหม้ขั้นต้น : เป็นไฟไหม้ในระยะแรกเริ่ม โดยสามารถสังเกตเห็นเปลวไฟในตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงเวลา 4 นาที ซึ่งไฟไหม้ในระยะขั้นต้น สามารถดับไฟได้โดยเครื่องดับเพลิงเบื้องต้น หากเป็นผู้ที่ฝึกอบรมการดับเพลิงมา จะทำให้การดับไฟไหม้ขั้นต้นมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกอบรม

  • ไฟไหม้ขั้นปานกลาง : เป็นไฟไหม้ที่ใช้ระยะเวลาไปแล้ว 4 ถึง 8 นาที ซึ่งไฟไหม้ปานกลางจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส การดับไฟที่อยู่ในขั้นนี้ควรใช้เครื่องดับเพลิงระดับสูง หากใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้นต้องมีจำนวนมากเพียงพอ  และควรได้รับการฝึกอบรม หากไม่มีความเชี่ยวชาญ และจำนวนถังดับเพลิงที่มากพออาจทำให้ไม่สามารถควบคุมเพลิงได้

  • ไฟไหม้ขั้นรุนแรง : เป็นไฟไหม้ที่ใช้ระยะเวลาลุกไหม้ไปอย่างต่อเนื่องมากกว่า 8 นาที ทำให้การลุกลามของไฟเป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรุนแรงขยายไปอย่างวงกว้าง ซึ่งไฟไหม้อย่างรุนแรงมีอุณหภูมิสูงกว่า 600 องศาเซลเซียส การดับเพลิงที่เป็นไฟไหม้ในขั้นรุนแรงนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมรับมือกับสถานการณ์ไฟไหม้ขั้นรุนแรงมาอย่างเชี่ยวชาญ และมีอุปกรณ์ที่พร้อมสามารถยุติเพลิงได้

ไฟมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ไฟมีกี่ประเภท? หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าไฟได้มีการจำแนกประเภทออกเพื่อให้ทราบถึงต้นกำเนิดของวัตถุเชื้อเพลิง เพื่อรับมือกับประเภทของไฟที่เกิดขึ้น สามารถใช้วิธีดับไฟได้อย่างถูกต้อง โดยประเภทของไฟแบ่ง 5 ประเภท ได้แก่

  • CLASS A FIRE : เป็นไฟที่เกิดเพลิงไหม้จากเชื้อเพลิงที่วัตถุเป็นของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ สิ่งทอ ยาง หรือพลาสติกบางชนิด เป็นต้น แม้ไฟประเภท A เป็นไฟที่อยู่ในระดับธรรมดา และสามารถพบการลุกไหม้ของไฟประเภทนี้ได้โดยทั่วไปตามสถานที่ต่างๆ แม้จะเป็นไฟในระดับธรรมดาหากเชื้อเพลิงยังเหลือพอสามารถลุกไหม้ได้ก็จะทำให้ไฟประเภทนี้มีความรุนแรงยิ่งขึ้น

  • CLASS B FIRE : เป็นไฟที่เกิดจากวัสดุที่เป็นของเหลวที่ไวไฟได้ง่าย รวมไปถึงก๊าซด้วย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด พาราฟิน โพรเพน บิวเทน แอลกอฮอล์ เป็นต้น ไฟประเภท B มักเกิดในพื้นที่อุตสาหกรรม ที่มีสารเหล่านี้อยู่จำนวนมาก เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ไฟจะลุกลาม และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

  • CLASS C FIRE : เป็นไฟที่มีต้นกำเนิดจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มอเตอร์ เครื่องแปลงไฟฟ้า ไฟฟ้าลัดวงจร แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่างกังหันลม เป็นต้น ซึ่งการเกิดไฟประเภท C นั้นหากเกิดประกายไฟจนลุกลามเป็นเพลิงไหม้สามารถทวีความรุนแรง จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายได้สูง

  • CLASS D FIRE : เป็นไฟที่มีต้นกำเนิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะที่สามารถติดไฟได้ เช่น อะลูมิเนียม แมกนีเซียม ไททาเนียม ลิเทียม โลหะผสม เป็นต้น โดยการดับไฟประเภทนี้จะมีการดับยากกว่าไฟประเภทอื่นๆ และไม่สามารถใช้น้ำในการดับไฟประเภทดังกล่าวได้ จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อควบคุมไม่ให้เพลิงสร้างความเสียหาย

  • CLASS K FIRE : เป็นไฟที่เกิดเพลิงไหม้จากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวที่สามารถติดไฟได้แต่มีความเกี่ยวข้องกับการทำอาหาร อุตสาหกรรมอาหารทั้งหลาย สามารถเกิดขึ้นในพื้นที่ครัวทุกประเภท ตัวอย่างเชื้อเพลิงเช่น ไขมัน น้ำมันพืช ไขมันจากพืช และสัตว์ เป็นต้น

การดับไฟสามารถทำได้หลายวิธี

การดับไฟสามารถทำได้หลายวิธีซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของไฟที่เกิดขึ้นจากเชื้อเพลิงต่างๆ รวมถึงความรุนแรงของไฟที่เกิดขึ้น เพราะหากใช้วิธีการดับไฟอย่างผิดวิธีอาจจะทำให้เพลิงโหมกระหน่ำ และรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้

โดยการดับไฟสามารถทำได้หลายวิธี ปกติแล้วจะมีอยู่  3 วิธีขั้นพื้นฐาน คือ

  • การทำให้เย็นตัวลง หรือการหล่อเย็นโดยใช้น้ำลดอุณหภูมิจนอุณหภูมิต่ำกว่าจุดติดไฟ ซึ่งวิธีนี้อาจจะมีข้อจำกัดหากเราใช้น้ำดับไฟผิดประเภท เพราะไฟบางประเภทอาจไม่สามารถดับด้วยน้ำได้ และอาจทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าเดิม 

  •  การทำให้อับอากาศ หรือการคุมดับเป็นการคลุมทับบริเวณผิวไฟให้ออกซิเจนในอากาศมีปริมาณต่ำกว่า 16 % เมื่อจำนวนออกซิเจนไม่เพียงพอในการทำปฏิกิริยาจึงทำให้วงจรลูกโซ่ขาดลงเลยทำให้ไฟสามารถดับได้

  • การขจัดเชื้อเพลิง หรือการตัดการหนุนของเชื้อเพลิง ซึ่งการดับไฟด้วยวิธีนี้จะใช้กับไฟที่มีความรุนแรงน้อย หรือเพลิงขนาดเล็ก โดยทำการแยกเชื้อเพลิงออกมาจากเปลวไฟจะช่วยให้ไฟดับลงได้ 

อย่างไรก็ตามหากไฟมีลักษณะรุนแรงเกินกว่าควรคุมควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ควบคุม และดับเพลิง เพราะเพลิงบางรูปแบบมีเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถดับด้วยน้ำได้ เช่น น้ำมัน โลหะที่สามารถติดไฟได้ เป็นต้น ซึ่งไฟบางประเภทจำเป็นต้องดับด้วยผงแป้งแห้ง โฟม และอื่นๆ หากดับผิดวิธีนอกจากจะไม่สามารถดับเพลิงได้ ยังเป็นการทำให้เกิดความเสียหาย และทำให้ไฟเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

เช่นเดียวกับถังดับเพลิงที่มีหลากหลายชนิด ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับไฟประเภทต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อเพลิงหลากหลายประเภท 

สนใจอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด คลิกเลย ที่นี่

ถังดับเพลิง

สรุป

สำหรับการเกิดไฟมีองค์ประกอบร่วมด้วยกัน 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง อากาศ และความร้อน เมื่อทั้ง 3 อย่างทำปฏิกิริยากันจนเกิดการลุกไหม้เป็นเปลวไฟแล้วสามารถสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ อย่างมหาศาล ทำให้การดับไฟเพื่อหยุดความเสียหายจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไฟมีหลากหลายประเภท หลากหลายต้นกำเนิดจากเชื้อเพลิงต่างๆ การดับไฟด้วยน้ำอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ 

SantoFire เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิต นำเข้า จัดจำหน่ายถังดับเพลิง ติดตั้งระบบดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับบุคคลทั่วไป พร้อมทั้งประสบการณ์ที่สะสมมาเป็นระยะเวลานานในด้านการดับเพลิงเรายังได้มีการเปิดอบรมดับเพลิงที่แน่นไปด้วยทั้งภาคทฤษฎี และการปฏิบัติให้แก่ผู้ที่สนใจ รวมถึงองค์กรต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุอัคคีภัยอีกด้วย เราพร้อมยินดีให้คำปรึกษา และการบริการต่างๆ เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสั่งซื้อสินค้ากับเราได้ที่ช่องทาง ดังต่อไปนี้

โทร. 02-245-9560 หรือ 02-248-3087

อีเมล: st.santofire@gmail.com

Line: @santofire

One thought on “องค์ประกอบของไฟ (elements of fire) มีอะไรบ้าง ไฟลุกไหม้ได้อย่างไร

  1. Pingback: อัคคีภัย – Haluan Thailand

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า