โศกนาฏกรรม เครื่องดับเพลิง Co2 ระเบิด สาเหตุเกิดจากอะไร

co2 explode

เนื่องในเหตุการณ์การระเบิดของเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( Co2 ) จนเป็นเหตุให้มีนักเรียนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ทำให้ผู้ใช้หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับถังดับเพลิงหลายๆท่านเกิดความวิตกกังวล เกี่ยวกับในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้ถังดับเพลิง ทาง บริษัท ซานโต ไฟร์ โปรดักท์ จำกัด และบริษัท บริษัท ซานโต ไฟร์ เทรนนิ่ง จำกัดได้ทราบถึงข้อกังวลดังกล่าว จึงใคร่ขอประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ถูกต้องของ เครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อหมายประสงค์ให้ผู้ใช้เครื่องดับเพลิงได้เข้าใจและไม่ตื่นกลัวจนเกินกว่าเหตุ และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านอัคคีภัยได้ดีต่อไปในภายภาคหน้า

ข้อมูลด้านคุณสมบัติและคุณลักษณะของเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทยในปัจจุบัน จะถูกผลิตโดยวัสดุอยู่ 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ เหล็ก เหล็กอัลลอย และ อลูมิเนียมอัลลอย โดยวัสดุแต่ละชนิดก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป อาทิเช่น ข้อดีของเครื่องดับเพลิงที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมอัลลอยจะมีน้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม แต่ในทางกลับกันก็จะมีราคาสูงกว่าถังดับเพลิงชนิดเหล็กและเหล็กอัลลอย ประมาณ 2-3 เท่าตัว ในขณะเดียวกันเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตโดยเหล็ก จะมีราคาที่ถูกที่สุด แต่ก็แลกมาด้วยโอกาสที่ถังดับเพลิงสามารถเป็นสนิมได้ง่ายกว่าถังดับเพลิงวัสดุอื่นๆ และมีน้ำหนักมากกว่าถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตโดยวัสดุ เหล็กอัลลอยและอลูมิเนียมอัลลอย โดยที่เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่วัสดุผลิตโดยเหล็กอัลลอยจะมีราคาใกล้เคียงกับถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตโดยเหล็ก ในขณะเดียวกันเครื่องดับเพลิงที่ผลิตโดยวัสดุเหล็กอัลลอย จะมีความทนทานต่อแรงดันมากกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ น้ำหนักเบากว่าเครื่องดับเพลิงชนิดเหล็ก แต่ยังถือว่าหนักกว่าเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตโดยอลูมิเนียมอัลลอย

ในการผลิตเครื่องดับเพลิงในประเทศไทย โดยปกติจะมี มาตรฐานมอก. มาควบคุมดูแลในการผลิต โดยมาตรฐานมอก.นั้นจะมี 2 ประเภทหลักๆ คือ มาตรฐาน มอก.บังคับ และ มาตรฐาน มอก.ภาคสมัครใจ เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จัดอยู่กลุ่มประเภทสินค้า มอก.ภาคสมัครใจ ซึ่งจะต่างจากเครื่องดับเพลิงชนิดเคมีแห้งที่จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศสินค้า ที่มีมาตรฐาน มอก. ภาคบังคับควบคุมอยู่ ดังนั้น ผู้ที่จะทำการซื้อเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงมักจะถามหาถึงมาตรฐานอื่นนอกเหนือจากมาตรฐานมอกได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นมาตรฐาน CE หรือมาตรฐาน UL เพื่อรับประกันคุณภาพของเครื่องดับเพลิงให้กับผู้ใช้ให้อุ่นใจได้ระดับหนึ่ง

เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีคุณลักษณะในการรองรับแรงดันการใช้งานปกติอยู่ที่ 55 Bar ( 825 PSI) ในสภาวะอุณหภูมิห้องปกติ แต่เนื่องจากที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีคุณนะสมบัติของก๊าซนั่นคือจะขยายตัวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่สูง แต่อย่างไร หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในถังดับเพลิงเกิดขยายตัวมากจนเกินไป ก็ยังจะมีกลไกด้านความปลอดภัยของถังดับเพลิงที่เรียกว่า เซฟตี้วาล์ว ทำหน้าที่ปล่อยแรงดันที่มันสูงจนเกินไปออกมาจากถัง เพื่อไม่ให้แรงดันภายในถังสูงมากจนเกินไปจนเกิดการระเบิด

saftey valve co2

โดยหลักการทำงานของ Safety Valve ในเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นจะมีลักษณะเป็นเหมือนแผ่นโลหะชิ้นกลมๆเล็กๆซึ่งตรงกลางจะมีลักษณะเหมือนทรงปั๊มนูน ซึ่งจะดูเหมือน UFO อยู่ที่บริเวณด้านในคอของถังดับเพลิง หากแรงดันที่อยู่ภายในถังมากเกินไป แรงดันนั้นจะไปผลักทำให้ตรงรอยปั๊มนูนแตกออกและสามารถระบาย/ปล่อย แรงดันที่มันมากเกินออกไปได้ แรงดันและก๊าซที่อยู่ภายในก็จะถูกขับออกมาเพื่อลดแรงดันภายในถังให้ลดลงกับสู่แรงดันปกติ ดังนั้นหาก หากมีการเปลี่ยนวัสดุ ดัดแปลงหรือแก้ไขตัวแผ่นโลหะที่ทำหน้าที่เป็น Safety Valve โดยมิได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รุ่นนั้นๆ ก็อาจจะทำให้เซฟตี้วาล์วสามารถทนรองรับแรงดันมากกว่าปกติ จนนำไปสู่การบกพร่องในการทำงานของ Safety Valve ของถังดับเพลิงในที่สุด

นอกจากกลไกความปลอดภัยที่เรียกว่า Safety Valve ภายในถังแล้ว ก็ยังมีกฎหมายที่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของการใช้เครื่องดับเพลิงให้ปลอดภัยอยู่ หมายถึงกฎหมายที่ระบุให้มีการส่งเครื่องดับเพลิงทุกชนิด รวมถึงเครื่องดับเพลิงชนิดอื่นยกตัวอย่างเช่นเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ชนิดโฟม ชนิดสูตรน้ำแรงดันต่ำ เป็นต้น ที่มีอายุการใช้งานทุกๆ 5 ปี ไปทำการทดสอบความสามารถในการรองรับแรงดันของตัวถัง ซึ่งเรียกการทดสอบดังกล่าวว่า hydrostatic Test อีกด้วย ตาม ประกาศอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.2552 ซึ่งมีข้อความระบุว่า

1.2 การทดสอบ
ทุก ๆ 5 ปี เครื่องดับเพลิงแบบมือถือจะต้องทดสอบการรับความดัน (hydrostatic test) เพื่อพิจารณาว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่

 

broken Co2

ตามที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า ว่าเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีแรงดันการใช้งานปกติภายในถังอยู่ที่ประมาณ 55 บาร์หรือ 825 PSI แต่ในการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุของถังดับเพลิง กฎหมายจะระบุให้ทำการอัดแรงดันเข้าไปในถังถึง 210 ถึง 250 Bar เพื่อสังเกตอาการการเสื่อมคุณภาพของตัวถัง หากอัดแรงดันจำนวนมหาศาลดังกล่าวเข้าไปในถังแล้วตัวถังยังคงสภาพปกติดี ไม่มีการแตกหรือ อาการบวมเกินปริมาณที่กำหนด ก็จะสามารถระบุได้ว่าถังดับเพลิงดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบแรงดันเรียบร้อยแล้วและจะมีอายุการใช้งานต่อไปได้อีก 5 ปี โดยปกติแล้วถังที่ผ่านการทำการทดสอบ hydrostatic Test จะได้รับ certificate รับรอง และจะมีการตอกตัวเลขซึ่งระบุถึงวันที่ทำการทดสอบลงบนตัวถังเพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงถึงหลักฐานที่ถังนั้นๆผ่านการทดสอบอีกด้วย

ในเมื่อเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีทั้งกลไก Safety Valve เพื่อระบายแรงดันส่วนเกินออก และ มีกฎหมายบังคับให้ทำการตรวจสอบความสามารถในการทนรองรับแรงดันของถังเป็นประจำทุกๆ 5 ปี (Hydrostatic test)อยู่แล้ว แล้วเหตุใดยังเกิดเหตุโศกนาฏกรรมถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดการระเบิดจนเป็นโศกนาฏกรรมดังกล่าวขึ้นได้อีก ต้องย้อนกลับมาตรวจสอบว่าถังดับเพลิงที่พนักงานดับเพลิงสามเสนใช้ในการฝึกอบรมการดับไฟให้กับนักเรียนราชวินิตมัธยมในวันดังกล่าวนั้น ผ่านเงื่อนไขความปลอดภัยทั้ง2 หรือไม่ (การทำ Hydrostatic Test และ กลไกเซฟตี้วาล์วของถังดับเพลิงดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ดี) เครื่องดับเพลิงที่เกิดเหตุ อาจอยู่สภาพชำรุด ถังดับเพลิงดังกล่าวอาจจะผ่านการใช้งานมานาน เนื้อถังที่เป็นเหล็กอาจจะบางตามกาลเวลา โดยไม่เคยได้รับการทดสอบแรงดัน Hydrostatic Test เลย หรือ ตัวแผ่นโลหะที่ทำหน้าที่เป็น Safety Valve อาจถูกการดัดแปลงแก้ไข หรือเปลี่ยนใหม่อย่างไม่เหมาะสม อาจเป็นที่สาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือทั้ง2ปัจจัยร่วมกัน

ดังนั้น เพื่อป้องกันเหตุโศกนาฏกรรม การระเบิดแตกของเครื่องดับเพลิง ดังกล่าว แล้วในฐานะที่เราเป็นผู้ใช้งาน สิ่งที่เราสามารถทำได้คือหมั่นตรวจสอบเครื่องดับเพลิงของเราอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามกฎหมายทำการทดสอบแรงดัน Hydrostatic test หรือเปลี่ยนเครื่องดับเพลิงใหม่ทุกๆ 5 ปี ส่วนในปัจจัยเรื่อง การเลือกใช้แผ่นโลหะSafety Valve อาจจะมากเกินไปสำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วๆไปเพราะมันอยู่ภายในกลไกคันบีบของเครื่องดับเพลิง สิ่งที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถทำได้คือการเลือกผู้บริการในการบรรจุสารเคมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ดี โดยเราอาจจะเลือกเฉพาะบริษัทที่มีมาตรฐานในการบริการหรือ บริษัทที่มีชื่อเสียงดังๆในวงการการดับเพลิงก็อาจจะช่วยได้ในอีกระดับหนึ่ง

เครื่องดับเพลิงระเบิด

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า