ก่อนที่เราจะตอบคำถามนี้ เราต้องเข้าใจข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ชื่อ Halotron® I จริงๆแล้วเป็นเพียงชื่อทางการค้าของ เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ชนิดหนึ่ง ของ บริษัทสัญชาติอเมริกา ที่ชื่อว่า American Pacific Corporation ซึ่งน้ำยาHalotron® I นี้ ในกระบวนการผลิต จะมีส่วนประกอบเป็นสาร HCFC- 123 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต มากถึง 93%
เรากลับมาที่คำถามว่า “ ในปี2020เป็นต้นไป สารฮาโลตรอนจะถูกห้ามการใช้จริงหรือไม่ ” คำตอบคือไม่จริง เพราะตัวกฎหมายของสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะแบน น้ำยาHalotron Iโดยตรง แต่น้ำยาHalotron I ได้รับผลกระทบทางอ้อมเสียมากกว่า สาเหตุคือกฎหมายของอเมริกาต้องการที่จะยกเลิกการผลิตสาร HCFC ใหม่ ในปี 2020เป็นต้นไป ดังนั้น เนื่องจากสารฮาโลตรอนใช้สารHCFC-123 เป็นส่วนประกอบหลัก จึงส่งผลน้ำยาฮาโลตรอนจึงได้รับผลกระทบในการผลิตไปด้วย อย่างไรก็ตามทางบริษัทAmerican Pacific Corporation กล่าวว่าทางบริษัทจะยังคง สามารถผลิตสารHalotron® I ต่อไปได้อยู่โดยระยะหนึ่ง ด้วยการนำ สาร HCFC-123 เก่า มาการรีไซเคิลการใช้ในการผลิต และยังคงมีสต็อคน้ำยาHCFCเก่า ที่ได้ถูกผลิตไว้ก่อนหน้านี้ก่อนที่กฎหมายจะบังคับให้หยุดการผลิตใหม่ เนื่องจากวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตมีจำนวนปริมาณจำกัด ดังนั้นในอนาคตเราอาจจะเห็นราคาของสารฮาลอนมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างสูงมาก และจะไม่สามารถผลิตได้ไหม่ในที่สุด เมื่อสต๊อกสินค้าน้ำยา HCFC-123เก่า ได้หมดลง
สำหรับกฎหมายของประเทศไทยของเรานั้น อ้างอิงตาม “ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แนวทางการอนุญาตนําเข้าสารเอชซีเอฟซี (HCFCs) เพื่อใช้ในประเทศ พ.ศ.2555” ก็ได้มีมาตรการลดปริมาณการนําเข้าลงเรื่อยๆในทุกๆปี เเละจะระงับการนำเข้า ใน ค.ศ. 2030 ในที่สุด ซึ่งกฏหมายตัวนี้สอดคล้องกับตามสนธิสัญญามอนทรีออล ที่ระบุถึง การยกเลิกการผลิตและนำเข้าสาร HCFCsสำหรับประเทศที่กําลังพัฒนา จะเริ่มมีผลในปี 2030
นั่นหมายความว่าภายในปี พ.ศ. 2573 ถังดับเพลิงน้ำยาHalotron® I อาจจะไม่มีในประเทศไทย อีกต่อไป เหมือนดังในอดีตปีพ.ศ. 2548 ที่มีการประกาศสั่งห้ามการนำเข้าและการใช้งาน สาร Halon1211 ซึ่งส่งผลให้ ถังดับเพลิงสีเหลือง BCF ถูกยกเลิกการผลิตและการใช้ในประเทศไทยโดยปริยายตามไปเช่นกัน
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้สารHCFC ถูกแบนการผลิตและการนำเข้า
สาเหตุหลักๆมาจากข้อกังวลเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน(Global Warming) ปัญหาสภาวะโลกร้อนมีผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ทำให้หลายประเทศเข้าร่วมมือ ประชุมกันหาทางออกในการจัดการ เเก้ไขปัญหาโลกร้อนนี้ และหนึ่งในการประชุมที่สำคัญ ได้ถูกจัดขึ้นวันที่ 16 กันยายน 1987 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งมีประเทศจำนวน 47 ประเทศ ได้มีการลงนามใน ข้อกำหนดร่วมกันที่เรียกว่า “พิธีสารมอนทรีออล” ร่วมกันให้คำสัตยาบัน ด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้น โอโซนซึ่งได้แก่ สาร CFCs และ สาร Halon ซึ่ง 2ปีถัดมา ประเทศไทยก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยในปี 1989 ปัจจุบัน สมาชิกประเทศที่เข้าร่วมพิธีสารมอนทรีออล มี 175 ประเทศทั่วโลก โดยจะให้ความสำคัญถึงการเลิกใช้สาร CFC โดนเก็บไปใช้กับกลุ่มอื่นๆที่มีอันตรายน้อยกว่าทดแทนได้แก่สารประเภทที่อยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกันเช่นสาร CFC ซึ่งเป็นสารที่มีแต่ตัวฟลูออรีนอย่างเดียว ไม่มีคลอรีน ดังนั้นปัญหาการทำลายชั้นโอโซนก็จะลดลง ซึ่งความสามารถของสารในการทำลายชั้นโอโซนเราจะดูได้จากค่า ODP (Ozone Depletion Potencial)เป็นตัวเลขที่แสดงระดับในการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของสารทำความเย็นชนิดต่างๆ ซึ่งถ้าเรากลับมาดูว่าสารดับเพลิงHalotron I (HCFC-123) มีค่า odp = 0.02 แม้ว่าจากค่า odp จะแสดงว่าศักยภาพในการทำลายชั้นโอโซน ของสารดับเพลิงฮาโลตรอนจะไม่สูงมากนัก แต่ก็ยังไม่เป็น 0 นั่นหมายถึงยังมีศักยภาพในการทำลายชั้นโอโซนอยู่ดี เช่นเดียวกับสารในตระกูล hcfc หรือ CFC อื่นๆ ตามตารางด้านล่าง
ตารางแสดงค่า odp ของสารชนิดต่างๆ
สาร
ค่า ODP (Ozone Depletion Potencial)
CFC-11 (อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น และการผลิตพลาสติก)
1.0
CFC-12 (อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น)
1.0
HCFC-123 (สารดับเพลิง Halotron I)
0.02
Halon-1211 (สารดับเพลิง BCF)
3.0
Halon-1301 (ใช้ในระบบดับเพลิง)
10.0
HFC236-fa (สารดับเพลิง FE36)
0
HFC-23 (ใช้ในอุตสาหกรรมสารให้ความเย็นและเป็นสารดับเพลิง)
0
HFC-227ea (สารดับเพลิง FM200)
0
ถ้าผลกระทบจาก สนธิสัญญามอนทรีออล ส่งผลให้สารดับเพลิงฮาโลตรอนวันขาดแคลน มีตัวเลือกทดแทนอะไรบ้างที่สามารถทดแทนน้ำยาHalotron I ได้
HFC236-fa (FE36)
หลังจากที่ประเทศไทยมีการกฎหมายสั่งยกเลิกการใช้สาร Halon 1211 ในวงการอุตสาหกรรมการดับเพลิง ก็มีสารน้ำยาดับเพลิงเหลวระเหยที่มาทดแทนมากมาย ที่นอกเหนือจากน้ำยาฮาโลตรอน I หนึ่งในนั้นก็คือ HFC236-fa
สารHFC236-fa เป็นสารสะอาดชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมดับเพลิง เนื่องจาก สารชนิดนี้เป็นสารสะอาด ไม่ทิ้งสารตกค้าง ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ มีความเป็นพิษในระดับที่ต่ำมาก และไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ (มีค่า OPD = 0 ) เหมาะสำหรับการใช้ในรูปแบบของเครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้ว และยังนิยม ใช้ในงานระบบดับเพลิงแบบ Total Flooding System อีกด้วย ส่วนใหญ่สารชนิดนี้จะถูกใช้ในสถานที่ที่ต้องการความสะอาด ยกตัวอย่างเช่น ห้อง Server, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องคอนโทรล, โรงงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, ห้องแลป, และบนเครื่องบิน
หลายคนอาจจะรู้จักสาร HFC236-fa นี้ในอีกชื่อหนึ่งนั่นคือ FE36 ซึ่งความจริงแล้วทั้งสองชื่อนี้ก็คือสารชนิดเดียวกัน เพียงแต่ชื่อ FE36 เป็นชื่อทางการค้าที่ บริษัทดูปองท์ ( Dupont ) ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลก สัญชาติอเมริกา ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสารเคมี ได้จดทะเบียนเอาไว้ในการทำตลาด นั่นเอง
เมื่อมาดูเปรียบเทียบความสามารถในการดับไฟ (Fire Rating) ระหว่างสาร HFC236-fa และ Halotron I เราสามารถพูดได้ว่าความสามารถในการดับไฟของสารทั้งสองชนิดนี้แทบจะเหมือนกันทุกประการ โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจาก มาตรฐาน UL-711 ของถังดับเพลิง FE-36 และ Halotron I โดย Fire Rating จะอยู่ที่ 5BC สำหรับถังขนาด 3 lbs, 1A:10BC สำหรับถังขนาด 9 lbs , และ 2A: 10BC สำหรับถังขนาด 13 lbs เราที่สามารถสรุปได้ว่าสาร HFC236-fa สามารถนำมาใช้ในการดับเพลิงทดแทนสารฮาโลตรอน ได้ทุกประการ
http://halotron.com/pdf/Tech_Analysis_HI_by_Hughes_Associates.pdf
HFC-227ea (FM200)
ในประเทศไทยเรามักจะไม่คุ้นชื่อสารชนิดนี้ แต่เรามักจะได้ยิน คุ้นกับ ชื่อสาร FM 200 มากกว่า ซึ่งความจริงแล้วมันคือสารชนิดเดียวกัน สารชนิดนี้ได้รับรองFire Rating มาตรฐานUL-711 ที่ 5BC สำหรับขนาด 3 ปอนด์ เป็นสารดับเพลิงที่สะอาด เมื่อฉีดออกมาแล้วจะไม่เหลือทิ้งสิ่งตกค้างหลังจากการใช้งาน ในประเทศไทยนั้นนิยมจะใช้ในระบบ Total Flooding System ในห้อง Server ต้องควบคุมห้อง UPS ห้องไฟฟ้า กันเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่ ยังไม่เห็นนำน้ำยาสารตัวนี้ลงมาใช้ในเครื่องดับเพลิงชนิดยกหิ้ว
FK 5-1-12 (Novec 1230)
Novec 1230 เป็นชื่อทางการค้าของสารเคมี FK 5-1-12 ที่จดโดยบริษัท 3M สารสะอาดชนิดนี้ถูกออกแบบให้มันทดแทนสารฮาลอน 1211 และส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมระบบดับเพลิงแบบ Total Flooding System เช่นเดียวกับระบบ FM 200 น้ำยา Novec 1230 หรือ FK 5-1-12 นี้เป็นแฟนกับเพื่อนในกลุ่มฮาโลคาร์บอน เป็นสารที่มี ค่าGWP<1 (ค่าศักยภาพทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนต่ำกว่า 1) มีพิษค่อนข้างต่ำจึงไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อคนและไม่ทำลายทรัพย์สินหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทางนี้ยังมีค่า ODP =0 ( เป็นสารดับเพลิงที่ไม่ทำลายชั้นโอโซน เหมือนกันกับ สาร HFC236-fa) อย่างไรก็ตาม สารชนิดนี้ยังถูกจำกัดการใช้ส่วนมากในระบบดับเพลิงอัตโนมัติเท่านั้น ยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในรูปแบบถังดับเพลิงแบบยกหิ้วมาเท่าไหร่